Page 9 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสระแก้ว
P. 9
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
2
บริเวณริมฝั่งแม่น้ำ เป็นสันนูนขนานไปกับริมฝั่งแม่น้ำ การระบายน้ำค่อนข้างดีถึงดี เนื้อดินค่อนข้างหยาบ
อาทิ ชุดดินชุมพลบุรี (Chp)
2) ที่ราบตะกอนน้ำพา (Alluvial plain) เป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลของแม่น้ำหรือลำน้ำสาขา
วัตถุต้นกำเนิดดินเป็นตะกอนน้ำพา (Alluvium) มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบขนาดใหญ่สองฝั่งแม่น้ำ แต่ละ
ฝั่งอาจมีที่ราบแบบขั้นบันไดหรือตะพักได้หลายระดับ แบ่งเป็น
(1) บริเวณตะพักลำน้ำระดับต่ำ (Low terrace) เป็นที่ลุ่ม มีสภาพพื้นที่ราบเรียบ ดินลึกมาก
เนื้อดินเป็นดินเหนียวละเอียดถึงดินทรายแป้งละเอียด สีเทา น้ำตาลปนเทา และน้ำตาล มีจุดประสีต่าง ๆ
การระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงเลว เช่น ชุดดินอรัญประเทศ (Ar) และชุดดินโคกสำโรง (Ksr) เป็นต้น
(2) บริเวณตะพักลำน้ำระดับกลางและระดับสูง (Middle and high terrace) เป็นที่ดอน
มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด ดินตื้นถึงชั้นกรวดลูกรังถึงดินลึกมาก เนื้อดินเป็นดิน
ร่วนหยาบ ดินร่วนละเอียดหรือดินร่วนปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีน้ำตาล เหลือง น้ำตาลปนแดง ไปจนถึง
แดง การระบายน้ำดีปานกลางถึงดี เช่น ชุดดินดอนไร่ (Dr) และชุดดินบางคล้า (Bka) เป้นต้น
(3) ลานตะพักปูนมาร์ล (Marl terrace) เป็นที่ดอน มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึง
ลูกคลื่นลอนลาด เป็นดินตื้นถึงชั้นปูนมาร์ลถึงดินลึกมาก เนื้อดินเป็นดินเหนียวถึงดินเหนียวปนชิ้นส่วน
หยาบมาก สีน้ำตาลเข้มและดำ การระบายน้ำดี อาทิ ชุดดินตาคลี (Tk)
3) พื้นเกือบราบ (Peneplain) เป็นภูมิลักษณ์ของพื้นผิวดินภายหลังการกร่อน เกิดจาก
การผุพังด้วยกระบวนการกร่อนทำลายโดยน้ำ ทำให้พื้นที่สูงเดิมซึ่งขรุขระและสูงต่ำแตกต่างกันมาก มีระดับ
ต่ำจนมีลักษณะคล้ายลูกคลื่นลอนลาดหรือพื้นที่เกือบราบ วัตถุต้นกำเนิดดินเกิดจากการผุพังสลายตัว
อยู่กับที่หรือเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกล ดินจึงมีลักษณะเด่นตามวัตถุต้นกำเนิดหรือหินที่รองรับ
อยู่ด้านล่างและระดับการพัฒนาตัวของดิน เช่น ชุดดินบุณฑริก (Bt) ชุดดินปักธงขัย (Ptc) และชุดดิน
เขมราฐ (Kmr) เป็นต้น
4) ที่ลาดเชิงเขา (Piedmont) เขา (Hill) ภูเขา (Mountain) มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่น
ลอนลาดถึงเนินเขา ที่เกิดจากการที่หินผุพังสลายตัวอยู่กับที่หรือถูกเคลื่อนย้ายโดยแรงโน้มถ่วงของโลก
ในระยะทางใกล้ๆ และถูกควบคุมด้วยลักษณะของโครงสร้างทางธรณีวิทยา ส่วนใหญ่พบหินปะปนใน
หน้าตัดดินและลอยหน้า แบ่งตามลักษณะและชนิดของหินดังนี้
(1) พัฒนาจากกลุ่มหินตะกอนหรือหินแปรเนื้อหยาบหรือหินในกลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นหินทราย
และหินควอร์ตไซต์ ดินตื้นถึงชั้นเศษหินหรือหินพื้นถึงดินลึกปานกลาง เนื้อดินเป็นดินร่วนหยาบถึงดิน
ร่วนปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีน้ำตาล น้ำตาลปนเหลือง น้ำตาลปนแดง จนถึงแดง การระบายน้ำดี พบ
เศษหินปะปนในหน้าตัดดินหรือบนผิวดิน เช่น ชุดดินลาดหญ้า (Ly) และชุดดินท่ายาง (Ty) เป็นต้น
(2) พัฒนาจากหินทราย ดินตื้นถึงชั้นเศษหินหรือหินพื้นถึงดินลึกมาก เนื้อดินเป็นทราย
ปนดินร่วนถึงดินร่วนปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีแดง น้ำตาล และน้ำตาลปนแดง การระบายน้ำดีถึงมาก
เกินไป พบเศษหินปะปนในหน้าตัดดินหรือบนผิวดิน อาทิ ชุดดินวังน้ำเขียว (Wk)
(3) พัฒนาจากหินทรายแป้ง ดินตื้นถึงชั้นเศษหินหรือหินพื้นถึงดินลึกมาก เนื้อดินเป็นดิน
ร่วนละเอียดถึงดินเหนียวละเอียด สีแดง น้ำตาล น้ำตาลปนแดง การระบายน้ำดี พบเศษหินปะปนใน
หน้าตัดดินหรือบนผิวดิน อาทิ ชุดดินวังไห (Wi)