Page 10 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสระแก้ว
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                3








                               (4) พัฒนาจากกลุ่มหินตะกอนหรือหินแปรเนื้อละเอียดหรือหินในกลุ่ม ส่วนใหญ่เป็น
                       หินดินดานและหินฟิลไลต์ ดินตื้นถึงชั้นเศษหินหรือหินพื้นถึงดินลึกปานกลาง เนื้อดินเป็นดินเหนียว
                       ละเอียดถึงดินเหนียวปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีน้ำตาล น้ำตาลปนแดง และน้ำตาลปนเหลือง การระบายน้ำดี
                       พบเศษหินปะปนในหน้าตัดดินหรือบนผิวดิน เช่น ชุดดินวังสะพุง (Ws) และชุดดินกบินทร์บุรี (Kb) เป็นต้น

                               (5) พัฒนาจากหินปูน ดินตื้นถึงชั้นเศษหินหรือหินพื้นถึงดินลึกมาก เนื้อดินเป็นดินเหนียว
                       ละเอียดถึงดินเหนียวปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีแดง น้ำตาล และน้ำตาลปนแดง การระบายน้ำดี พบเศษหิน
                       ปะปนในหน้าตัดดินหรือบนผิวดิน อาทิ ชุดดินทับกวาง (Tw)
                               (6) พัฒนาจากกลุ่มหินอัคนีหรือหินในกลุ่ม ดินตื้นถึงชั้นเศษหิน เนื้อดินเป็นดินร่วนปน

                       ชิ้นส่วนหยาบมาก สีแดง น้ำตาล น้ำตาลปนเหลือง และน้ำตาลปนแดง การระบายน้ำดี อาทิ  ชุดดินท่าลี่ (Tl)
                               (7) พัฒนาจากหินบะซอลต์/แอนดิไซต์ ดินตื้นถึงชั้นเศษหิน เนื้อดินเป็นดินร่วนปนชิ้นส่วน
                       หยาบมาก สีน้ำตาล น้ำตาลปนเหลือง และน้ำตาลปนแดง การระบายน้ำดี อาทิ ชุดดินแก่งคอย (Kak)
                               (8) พัฒนาจากหินอัคนีชนิดหินแกรนิต ดินตื้นถึงชั้นเศษหินหรือหินพื้นถึงดินลึกมาก เนื้อดิน

                       เป็นดินร่วนหยาบถึงดินร่วนปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีน้ำตาล น้ำตาลปนแดง ถึงแดง การระบายน้ำดี
                       เช่น ชุดดินบ้านไร่ (Bar) ชุดดินทับเสลา (Tas) เป็นต้น
                               ซึ่งได้แสดงรายละเอียดของชุดดินที่พบมากของจังหวัดสระแก้ว ในภาพที่ 1 - 5
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15