Page 9 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดปราจีนบุรี
P. 9

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                2








                       การพัฒนาชั้นดินไม่มากนัก สีเทาอ่อน มีจุดประสีน้ าตาลแก่ น้ าตาลปนเหลือง และน้ าตาลปนเขียว
                       มะกอก เช่น ชุดดินรังสิต (Rs) และชุดดินมหาโพธิ์ (Ma) เป็นต้น
                                2)  ที่ราบน้ าท่วมถึง (Flood plain) ที่ราบริมแม่น้ าหรือล าธาร หน้าฝนหรือหน้าน้ า
                       มักมีน้ าท่วมเป็นครั้งคราว เป็นสภาพพื้นที่ที่เกิดจาการทับถมของตะกอนน้ าพา และมีตะกอนเพิ่มมาก

                       ขึ้นหลังน้ าท่วม แบ่งเป็น
                                     (1) สันดินริมน้ า (Levee) เป็นที่ดอน เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ าพาบริเวณริม
                       ฝั่งแม่น้ าเป็นสันนูนขนานไปกับริมฝั่งแม่น้ า การระบายน้ าค่อนข้างดีถึงดี เนื้อดินค่อนข้างหยาบ อาทิ
                       ชุดดินชุมพลบุรี (Chp)

                                     (2) ที่ลุ่มหลังสันดินริมน้ า (Back swamp, basin) เป็นที่ลุ่มน้ าขังอยู่ระหว่าง
                       สันดินริมน้ ากับตะพักล าน้ าหรือด้านข้างหุบเขา การระบายน้ าค่อนข้างเลวถึงเลว ดินลึกมาก เนื้อดิน
                       เหนียวละเอียด สีเทาและน้ าตาลปนเทา การระบายน้ าเลว อาทิ ชุดดินบางระก า (Brk)
                                3)  ที่ราบตะกอนน้ าพา (Alluvial plain) เป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลของแม่น้ าหรือ

                       ล าน้ าสาขา วัตถุต้นก าเนิดดินเป็นตะกอนน้ าพา (Alluvium) มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบขนาดใหญ่สองฝั่ง
                       แม่น้ า แต่ละฝั่งอาจมีที่ราบแบบขั้นบันไดหรือตะพักได้หลายระดับ แบ่งออกเป็น
                                     (1) บริเวณตะพักล าน้ าระดับต่ า (Low terrace) เป็นที่ลุ่ม มีสภาพพื้นที่ราบเรียบ

                       ดินลึกมาก เนื้อดินอาจเป็นดินเหนียวละเอียดถึงดินทรายแป้งละเอียด สีเทา น้ าตาล น้ าตาลปนเทา
                       มีจุดประสีต่าง ๆ การระบายน้ าค่อนข้างเลวถึงเลว อาทิ ชุดดินหินกอง (Hk)
                                     (2) บริเวณตะพักล าน้ าระดับกลางและระดับสูง (Middle and high terrace) เป็น
                       ที่ดอน มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด ดินตื้นถึงชั้นกรวดลูกรังถึงดินลึกมาก
                       เนื้อดินเป็นดินร่วนหยาบ ดินร่วนละเอียดหรือดินร่วนปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีน้ าตาลเหลือง

                       น้ าตาลปนแดงไปจนถึงแดง การระบายน้ าดีปานกลางถึงดี เช่น ชุดดินดอนไร่ (Dr) ชุดดินบางคล้า
                       (Bka) เป็นต้น
                                 4)  พื้นเกือบราบ (Peneplain) เป็นภูมิลักษณ์ของพื้นผิวดินภายหลังการกร่อนเกิดจาก

                       การผุพังด้วยกระบวนการกร่อนท าลายโดยน้ าท าให้พื้นที่สูงเดิมซึ่งขรุขระและสูงต่ าแตกต่างกันมาก มี
                       ระดับต่ าลงจนมีลักษณะคล้ายลูกคลื่นลอนลาดหรือพื้นที่เกือบราบ วัตถุต้นก าเนิดดินเกิดจากการผุพัง
                       สลายตัวอยู่กับที่หรือเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกล ดินจึงมีลักษณะเด่นตามวัตถุต้นก าเนิดหรือหินที่
                       รองรับอยู่ด้านล่างและระดับการพัฒนาตัวของดิน เช่น ชุดดินบุณฑริก (Bt) ชุดดินปักธงชัย (Ptc) เป็นต้น

                                 5)  ที่ลาดเชิงเขา (Piedmont) เขา (Hill) ภูเขา (Mountain) มีสภาพพื้นที่เป็น
                       ลูกคลื่นลอนลาดถึงเนินเขาที่เกิดจากการที่หินผุพังสลายตัวอยู่กับที่หรือถูกเคลื่อนย้ายโดยแรง
                       โน้มถ่วงของโลกในระยะทางใกล้ ๆ และถูกควบคุมด้วยลักษณะของโครงสร้างทางธรณีวิทยา
                       ส่วนใหญ่พบหินปะปนในหน้าตัดดินและลอยหน้า แบ่งตามลักษณะและชนิดของหิน ดังนี้

                                     (1) พัฒนาจากกลุ่มหินตะกอนหรือหินแปรเนื้อหยาบหรือหินในกลุ่ม ส่วนใหญ่
                       เป็นหินทรายและหินควอร์ตไซต์ ดินตื้นถึงชั้นเศษหินหรือหินพื้นถึงดินลึกปานกลาง เนื้อดินเป็น
                       ดินร่วนหยาบถึงดินร่วนปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีน้ าตาล น้ าตาลปนเหลือง น้ าตาลปนแดงจนถึงแดง
                       การระบายน้ าดี พบเศษหินปะปนในหน้าตัดดินหรือบนผิวดิน อาทิ ชุดดินท่ายาง (Ty)
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14