Page 8 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดตราด
P. 8

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                1








                       1.  ข้อมูลทั่วไป

                            จังหวัดตราด มีพื้นที่ 2,819.000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,761,875 ไร่ ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกของ
                       ประเทศไทย ประกอบด้วย 7 อ าเภอ 38 ต าบล (ตารางผนวกที่ 1) มีประชากร 228,536 คน
                       (กรมการปกครอง, 2563)

                            1.1  อาณาเขตติดต่อ

                                  ทิศเหนือ         ติดต่อ  จังหวัดจันทบุรีและราชอาณาจักรกัมพูชา
                                  ทิศใต้           ติดต่อ  อ่าวไทยและน่านน้ าราชอาณาจักรกัมพูชา
                                  ทิศตะวันออก      ติดต่อ  ราชอาณาจักรกัมพูชา
                                  ทิศตะวันตก       ติดต่อ  จังหวัดจันทบุรี

                            1.2  ภูมิประเทศ

                                 สภาพภูมิประเทศของจังหวัดตราด ประกอบด้วย เทือกเขาสูง ป่าเบญจพรรณ
                       ป่าดิบ พื้นน้ า และหมู่เกาะต่าง ๆ แบ่งเป็น 4 ลักษณะ ได้แก่
                                  1)  บริเวณพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ า เหมาะสมต่อการปลูกผลไม้ ปาล์มน้ ามัน ท านาข้าว และ

                       ปศุสัตว์
                                  2)  ที่ราบบริเวณภูเขา บริเวณนี้มีพื้นที่กว้างขวางเหมาะสมต่อการท าสวนผลไม้
                       ยางพารา และสับปะรด
                                  3)  บริเวณพื้นที่ภูเขาสูง ส่วนมากมีสภาพเป็นพื้นที่ป่าไม้
                                  4)  ที่ราบต่ าชายฝั่งทะเลและผืนทะเล ประกอบด้วย หมู่เกาะน้อยใหญ่ต่าง ๆ 52 เกาะ

                       มีป่าชายเลนหนาแน่น เป็นแหล่งเลี้ยงสัตว์น้ าและแหล่งท่องเที่ยวที่ส าคัญของจังหวัด

                            1.3  ภูมิอากาศ
                                  สภาพภูมิอากาศของจังหวัดตราดแบบมรสุมเขตร้อน (Am) มีอากาศไม่ร้อนจัดหรือหนาว
                       จนเกินไป มีฝนตกชุกมาก มี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูหนาว เป็นเพียงระยะเวลาสั้น ๆ ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึง

                       กุมภาพันธ์ อากาศไม่หนาวมากนัก อุณหภูมิเฉลี่ย 20 องศาเซลเซียส ฤดูร้อน เป็นช่วงเดือนมีนาคมถึง
                       เมษายน อุณหภูมิเฉลี่ย 34 องศาเซลเซียส ฤดูฝน เกิดจากอิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่าน
                       ทะเลอ่าวไทย ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม ท าให้มีฝนตกชุกในทุกพื้นที่ปริมาณฝนเฉลี่ย 4,000 -
                       5,000 มิลลิเมตรต่อปี

                            1.4  ทรัพยากรดิน

                                  ทรัพยากรดินของจังหวัดตราด แบ่งตามภูมิสัณฐาน ลักษณะทางธรณีวิทยา และ
                       วัตถุต้นก าเนิดดิน ได้ดังนี้
                                 1)  พื้นที่หาดทรายและเนินทราย (Beach and sand dune) พื้นที่หาดทรายเป็น
                       พื้นที่ระหว่างแนวน้ าทะเลขึ้นและน้ าทะเลลง มีลักษณะเป็นแนวยาวขนานกับชายฝั่งทะเลที่เกิดขึ้นจาก

                       การกระท าของคลื่นและกระแสน้ าทะเล ส่วนพื้นที่เนินทรายหรือสันทรายเป็นพื้นที่ที่มีลักษณะนูน
                       เป็นโคกเตี้ย ๆ และเป็นแนวยาวขนานกับชายฝั่งทะเล มีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด
                       เล็กน้อย การระบายน้ าค่อนข้างมาก มีเนื้อดินเป็นดินทรายและมักมีเปลือกหอยปะปนอยู่ในดิน
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13