Page 9 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดอ่างทอง
P. 9

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                2








                               2) ที่ราบน้ าท่วมถึง (Flood plain) ที่ราบริมแม่น้ าหรือล าธาร หน้าฝนหรือหน้าน้ า มักมี
                       น้ าท่วมเป็นครั้งคราว เป็นสภาพพื้นที่ที่เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ าพา และมีตะกอนเพิ่มมากขึ้น
                       หลังน้ าท่วม แบ่งเป็น
                                 (1) สันดินริมน้ า (Levee) เป็นที่ดอน มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด

                       เล็กน้อย ดินลึก เนื้อดินร่วนหยาบ มีสีน้ าตาลและน้ าตาลปนแดง การระบายน้ าดีปานกลางถึงดี อาทิ
                       ชุดดินเชียงใหม่ (Cm)
                                 (2) ส่วนต่ าของสันดินริมน้ า (Lower  part  of  levee)  เป็นดินลุ่ม มีสภาพพื้นที่ค่อนข้าง
                       ราบเรียบ ดินลึกมาก เนื้อดินร่วนหยาบถึงดินทรายแป้งละเอียด มีสีเทาและน้ าตาลปนเทา การระบายน้ า

                       ค่อนข้างเลว อาทิ ชุดดินสรรพยา (Sa)
                                 (3) แอ่งต่ า (Back  swamp,  basin) เป็นดินลุ่ม มีสภาพพื้นที่ราบเรียบ ดินลึกมาก
                       เนื้อดินเหนียวละเอียด มีสีเทาและน้ าตาลปนเทา การระบายน้ าเลว เช่น ชุดดินสิงห์บุรี (Sin) ชุดดิน
                       ชัยนาท (Cn) เป็นต้น

                               3) ที่ราบตะกอนน้ าพา (Alluvial plain) เป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลของแม่น้ าหรือล าน้ า
                       สาขา วัตถุต้นก าเนิดดินเป็นตะกอนน้ าพา (Alluvium) มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบขนาดใหญ่สองฝั่งแม่น้ า
                       แต่ละฝั่งอาจมีขั้นหรือตะพักได้หลายระดับ แบ่งเป็น

                                 (1) ตะพักล าน้ าระดับต่ า (Low  terrace)  เป็นที่ลุ่ม มีสภาพพื้นที่ราบเรียบ ดินลึกมาก
                       เนื้อดินอาจเป็นดินเหนียวละเอียดถึงดินทรายแป้งละเอียด มีสีเทา น้ าตาลปนเทา และน้ าตาล มีจุดประ
                       สีต่าง ๆ ดินมีการระบายน้ าค่อนข้างเลวถึงเลว เช่น ชุดดินนครปฐม (Np) ชุดดินสระบุรี (Sb) เป็นต้น
                                 (2) เนินตะกอนน้ าพารูปพัด (Alluvial  fan) เป็นที่ดอน มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ
                       ถึงลูกคลื่นลอนลาด เป็นดินลึกมาก เนื้อดินเป็นดินร่วนหยาบถึงดินทรายแป้งละเอียด มีสีน้ าตาล เหลือง

                       จนถึงแดง ดินมีการระบายน้ าดีปานกลางถึงดี อาทิ ชุดดินก าแพงแสน (Ks)
                                     ซึ่งได้แสดงรายละเอียดของชุดดินที่พบมากของจังหวัดอ่างทอง (ภาพที่ 1-5)
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14