Page 8 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดอ่างทอง
P. 8

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                1








                       1. ข้อมูลทั่วไป


                           จังหวัดอ่างทองมีพื้นที่ 968.372 ตารางกิโลเมตร หรือ 605,233 ไร่ ตั้งอยู่ในภาคกลางของ
                       ประเทศไทย ประกอบด้วย 7 อ าเภอ 73 ต าบล (ตารางผนวกที่ 1) จังหวัดอ่างทองมีขนาดพื้นที่ใหญ่
                       เป็นอันดับที่ 18 มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 19 ของภาคกลาง จ านวนประชากร 276,584 คน
                       (กรมการปกครอง, 2563)

                         1.1  อาณาเขตติดต่อ

                               ทิศเหนือ      ติดต่อ จังหวัดสิงห์บุรี
                               ทิศใต้       ติดต่อ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
                               ทิศตะวันออก   ติดต่อ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดลพบุรี
                               ทิศตะวันตก    ติดต่อ จังหวัดสุพรรณบุรี


                         1.2  ภูมิประเทศ
                              สภาพภูมิประเทศของจังหวัดอ่างทอง โดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบลุ่ม ลักษณะคล้ายอ่าง ไม่มี
                       ภูเขา  มีรูปร่างลักษณะคล้ายรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีส่วนกว้างตามแนวทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตก และ
                       ส่วนยาวตามแนวทิศเหนือถึงทิศใต้ใกล้เคียงกัน คือ ประมาณ 40  กิโลเมตร  มีแม่น้ าสายส าคัญไหลผ่าน
                       2  สาย คือแม่น้ าเจ้าพระยาและแม่น้ าน้อย แม่น้ าเจ้าพระยาไหลผ่านพื้นที่อ าเภอไชโย  เมืองอ่างทอง

                       และป่าโมก รวมระยะทางที่ไหลผ่านประมาณ 40 กิโลเมตร ส่วนแม่น้ าน้อยเป็นแม่น้ าที่แยกจากแม่น้ า
                       เจ้าพระยา ไหลผ่านจังหวัดอ่างทองในพื้นที่อ าเภอโพธิ์ทองและวิเศษชัยชาญ รวมระยะทางที่ไหลผ่าน
                       ประมาณ 50 กิโลเมตร

                         1.3  ภูมิอากาศ
                              จังหวัดอ่างทองตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ร้อนชุ่มชื้น มีสภาพภูมิอากาศเป็นแบบฝนเมืองร้อน ได้รับ

                       อิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ท าให้อากาศ
                       หนาวเย็นและแห้งแล้ง และได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือน
                       กันยายน ท าให้มีเมฆมากและฝนตกชุก มี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม

                       ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์
                       มีอุณหภูมิเฉลี่ย 28 - 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 32 - 34 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ าสุด
                       เฉลี่ย 22 - 26 องศาเซลเซียส อากาศร้อนจัดในเดือนเมษายน อากาศหนาวในเดือนธันวาคม

                         1.4  ทรัพยากรดิน
                              ทรัพยากรดินของจังหวัดอ่างทอง แบ่งตามภูมิสัณฐาน ลักษณะทางธรณีวิทยา และวัตถุ

                       ต้นก าเนิดดิน ได้ดังนี้
                               1) พื้นที่ที่น้ าทะเลเคยท่วมถึง (Former Tidal Flats) เป็นพื้นที่ที่น้ าทะเลเคยท่วมถึง
                       ในอดีต เป็นช่วงต่อระหว่างตะกอนแม่น้ ากับตะกอนน้ าจืด มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ หรือเป็น
                       แอ่งต่ ามีน้ าขังตลอดปี การระบายน้ าเลวมาก มีเนื้อดินเป็นดินทรายแป้งละเอียดหรือดินเหนียว ที่มี

                       การพัฒนาชั้นดินไม่มากนัก สีเทาอ่อน มีจุดประสีน้ าตาลแก่ สีน้ าตาลปนเหลืองและสีน้ าตาลปนเขียว
                       มะกอก เช่น ชุดดินบางเลน (Bl) ชุดดินบางเขน (Bn) เป็นต้น
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13