Page 16 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดอ่างทอง
P. 16

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                9








                         2.2  อ้อยโรงงาน
                              อ้อยโรงงานเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีพื้นที่ปลูกมากเป็นล าดับที่ 2 ของจังหวัดอ่างทอง
                       ปลูกมากในเขตพื้นที่ราบสูงของจังหวัด อาศัยน้ าฝนเป็นหลัก เกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกอ้อยโรงงานมาก
                       เมื่อราคาดีเท่านั้น ดังนั้นพื้นที่ปลูกในแต่ละปีจึงมีจ านวนไม่แน่นอน นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับราคาพืชไร่
                       ชนิดอื่นร่วมด้วย จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตรเชิงรุก หรือ Agri-Map Online วิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้
                       (ตารางที่ 5 และภาพที่ 8 - 9)


                               1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกอ้อยโรงงาน
                                  ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 32,876 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 5.53
                       ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดินส าหรับปลูกอ้อยโรงงานทั้งหมด พบอยู่ในทุกอ าเภอ โดยพบมากในอ าเภอ
                       โพธิ์ทอง 9,741 ไร่  อ าเภอเมืองอ่างทอง 6,392 ไร่ และอ าเภอไชโย 5,550 ไร่ เป็นต้น

                                    ระดับที่  2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 325  ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.05
                       ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดินส าหรับปลูกอ้อยโรงงานทั้งหมด พบอยู่ในอ าเภอแสวงหา
                                  ระดับที่  3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 13,766 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 2.32
                       ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดินส าหรับปลูกอ้อยโรงงานทั้งหมด พบอยู่ในอ าเภอแสวงหา 12,260  ไร่ อ าเภอ

                       โพธิ์ทอง 1,283 ไร่ อ าเภอสามโก้ 167 ไร่ อ าเภอไชโย 45 ไร่ และอ าเภอป่าโมก 11 ไร่
                                  ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 547,198 ไร่

                               2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานในปัจจุบัน ซึ่งจ าแนกตามชั้นความเหมาะสมของ
                       ที่ดิน พบว่า จังหวัดอ่างทองมีพื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานในพื้นที่เหมาะสมสูง เหมาะสมปานกลาง และ
                       เหมาะสมเล็กน้อย โดยมีรายละเอียดดังนี้

                                    (1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 450 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.37 ของพื้นที่เหมาะสมสูง
                       พบอยู่ในอ าเภอแสวงหา 429 ไร่ และอ าเภอโพธิ์ทอง 21 ไร่
                                    (2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 325 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 100 ของพื้นที่เหมาะสม
                       ปานกลาง พบอยู่ในอ าเภอแสวงหา 325 ไร่

                                    (3) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 13,766  ไร่ คิดเป็นร้อยละ 100.00 ของพื้นที่
                       เหมาะสมเล็กน้อย พบอยู่ในอ าเภอแสวงหา 12,260 ไร่ อ าเภอโพธิ์ทอง 1,283 ไร่ อ าเภอสามโก้ 167 ไร่
                       อ าเภอไชโย 45 ไร่ และอ าเภอป่าโมก 11 ไร่

                               3) พื้นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกอ้อยโรงงานแต่ยังไม่ใช้พื้นที่ปลูก
                       พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินส าหรับการปลูกอ้อยโรงงาน และพื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานในชั้นความ

                       เหมาะสมต่าง ๆ (ปลูกจริง) พบว่า จังหวัดอ่างทองมีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือในระดับความเหมาะสมสูง
                       (S1) 32,426 ไร่  อ าเภอที่มีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือมากที่สุด ได้แก่ อ าเภอโพธิ์ทอง 9,720 ไร่ รองลงมา
                       อ าเภอเมืองอ่างทอง 6,392 ไร่ และอ าเภอไชโย 5,550 ไร่ ตามล าดับ
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21