Page 9 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสิงห์บุรี
P. 9

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                 2







                              1) ที่ราบน้ำท่วมถึง (Flood plain) ที่ราบริมแม่น้ำหรือลำธาร หน้าฝนหรือหน้าน้ำ มักมีน้ำ
                       ท่วมเป็นครั้งคราว เป็นสภาพพื้นที่ที่เกิดจาการทับถมของตะกอนน้ำพา และมีตะกอนเพิ่มมากขึ้นหลังน้ำ

                       ท่วม แบ่งเป็น

                                   (1) สันดินริมน้ำ (Levee) เป็นที่ดอน เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำพาบริเวณริมฝั่ง

                       แม่น้ำ เป็นสันนูนขนานไปกับริมฝั่งแม่น้ำ การระบายน้ำค่อนข้างดีถึงดี เนื้อดินค่อนข้างหยาบ อาทิ

                       ชุดดินเชียงใหม่ (Cm)
                                    (2) ส่วนต่ำของสันดินริมน้ำ (Lower part of levee) เป็นดินลุ่ม มีสภาพพื้นที่ค่อนข้าง

                       ราบเรียบ ดินลึกมาก เนื้อดินร่วนหยาบถึงดินทรายแป้งละเอียด สีเทาและน้ำตาลปนเทา

                       การระบายน้ำค่อนข้างเลว อาทิ ชุดดินสรรพยา (Sa)

                                    (3) ที่ลุ่มหลังสันดินริมน้ำ (Back swamp, basin) เป็นที่ลุ่มน้ำขังอยู่ระหว่างสันดินริมน้ำกับ

                       ตะพักลำน้ำหรือด้านข้างหุบเขา การระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงเลว ดินลึกมาก เนื้อดินเหนียวละเอียด

                       สีเทาและน้ำตาลปนเทา การระบายน้ำเลว เช่น ชุดดินสิงห์บุรี (Sin) และชุดดินโคกกระเทียม (Kk) เป็นต้น
                             2) ที่ราบตะกอนน้ำพา (Alluvial plain) เป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลของแม่น้ำหรือลำน้ำสาขา

                       วัตถุต้นกำเนิดดินเป็นตะกอนน้ำพา (Alluvium) มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบขนาดใหญ่สองฝั่งแม่น้ำ แต่ละฝั่ง

                       อาจมีที่ราบแบบขั้นบันไดหรือตะพักได้หลายระดับ พื้นที่จังหวัดสิงห์บุรีเป็นส่วนของตะพัก

                       ลำน้ำระดับต่ำ (Low terrace) เป็นที่ลุ่ม มีสภาพพื้นที่ราบเรียบ ดินลึกมาก เนื้อดินอาจเป็นดินเหนียว

                       ละเอียดถึงดินทรายแป้งละเอียด สีเทา น้ำตาลปนเทา และน้ำตาล มีจุดประสีต่าง ๆ การระบายน้ำ

                       ค่อนข้างเลวถึงเลว อาทิ ชุดดินนครปฐม (Np)
                             3) พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน เป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 35 ทรัพยากรดิน

                       มีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่

                               ซึ่งได้แสดงรายละเอียดของชุดดินที่พบมากของจังหวัดสิงห์บุรี ได้แก่ หน้าตัดดินและ

                       คำบรรยายชุดดินเชียงใหม่ หน้าตัดดินและคำบรรยายชุดดินสรรพยา หน้าตัดดินและคำบรรยายชุดดิน

                       สิงห์บุรี หน้าตัดดินและคำบรรยายชุดดินโคกกระเทียม หน้าตัดดินและคำบรรยายชุดดินนครปฐม
                       (ภาพที่ 1 - 5)


                         1.5 สภาพการใช้ที่ดิน

                             สภาพการใช้ที่ดินปัจจุบันของจังหวัดสิงห์บุรี จากฐานข้อมูลแผนที่สภาพการใช้ที่ดินของ
                       กรมพัฒนาที่ดิน (ตารางที่ 1)
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14