Page 12 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสิงห์บุรี
P. 12
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
5
ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีข้อจำกัดการของดินและน้ำ ส่งผลให้การผลิตพืช
ให้ผลตอบแทนต่ำ การใช้พื้นที่ต้องใช้ต้นทุนสูงในการจัดการ และมีความเสี่ยงจากน้ำท่วมและขาดน้ำ
ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N)
จังหวัดสิงห์บุรี พื้นที่พืชเศรษฐกิจสำคัญที่ปลูกมาก 4 ลำดับแรก ได้แก่ ข้าว อ้อยโรงงาน
มะพร้าว และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ตารางที่ 2)
ตารางที่ 2 พื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจที่มีพื้นที่ปลูกมาก 4 ลำดับแรกของจังหวัดสิงห์บุรี
พืชเศรษฐกิจ เนื้อที่ (ไร่) ร้อยละของพื้นที่เกษตรกรรม
1. ข้าว 323,805 82.49
2. อ้อยโรงงาน 30,016 7.65
3. มะพร้าว 472 0.12
4. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 61 0.02
ที่มา: https://agri-map-online.moac.go.th, 2564
2.1 ข้าว
ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดสิงห์บุรี เนื่องจากทรัพยากรดินมีความเหมาะสมดีสำหรับ
การปลูกข้าวประกอบกับพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตชลประทานครอบคลุมเกือบทั้งจังหวัด จึงสามารถ
เพาะปลูกข้าวได้เกือบทั้งปี (นาปี และนาปรัง) โดยพันธุ์ข้าวที่นิยมปลูก ได้แก่ กข31 (ปทุมธานี 80)
กข41 กข47 ซึ่งมีการเพาะปลูกทุกอำเภอ จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตรเชิงรุก หรือ Agri-Map Online
สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 3 และภาพที่ 6 - 7)
1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกข้าว
ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 454,779 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 89.03 ของ
พื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวอยู่ในอำเภออินทร์บุรี 145,734 ไร่ อำเภอบางระจัน 112,440 ไร่ และ
อำเภอเมืองสิงห์บุรี 66,697 ไร่
ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 19,838 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 3.88
ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวอยู่ในอำเภออินทร์บุรี 9,536 ไร่ อำเภอบางระจัน 3,306 ไร่ และ
อำเภอพรหมบุรี 3,106 ไร่