Page 17 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
P. 17

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               10







                             4) แนวทางการจัดการ
                               (1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1  หรือ S2) ควรสนับสนุนให้เกษตรกร
                       ปลูกข้าวต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี

                       ซึ่งการปลูกข้าวในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถน าไปสู่การต่อยอดโครงการที่ส าคัญต่าง ๆ ได้ เช่น เกษตร
                       อินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นย า เป็นต้น

                               (2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3  หรือ N) ควรสนับสนุนให้
                       เข้าโครงการปรับเปลี่ยนการผลิต ท าการเกษตรผสมผสานหรือพืชที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า โดยพิจารณา

                       แหล่งรับซื้อร่วมด้วย
                               (3) พื้นที่ศักยภาพในการขยายการผลิตข้าว พบว่ามีเนื้อที่ 631 ไร่ โดยเป็นพื้นที่ปลูก

                       อ้อยโรงงาน มันส าปะหลังและ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ศักยภาพไม่เหมาะสม (S3 หรือ N)  ส าหรับ
                       พืชชนิดนั้น ๆ พบมากในอ าเภอลาดบัวหลวง และอ าเภอวังน้อย แต่เนื่องจากนโยบายของ
                       คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการข้าวต้องการรักษาดุลยภาพผลผลิตข้าวด้วยการลดพื้นที่ปลูกข้าว

                       ดังนั้น จึงควรพิจารณาปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด หากใน
                       อนาคตข้าวราคาดี เกษตรกรอาจกลับมาปลูกข้าวได้ โดยควรส่งเสริมให้ผลิตสินค้ามาตรฐานสูง เช่น

                       มาตรฐานสินค้าการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) เป็นต้น

                           2.2  มะพร้าว
                                  มะพร้าวเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของพระนครศรีอยุธยาในล าดับที่ 2 ในฐานข้อมูลในแผน
                       ที่เกษตรเชิงรุก หรือ Agri-Map Online วิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 5 และภาพที่ 8 – 9)

                                    1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกมะพร้าว
                                     ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 4,848 ไร่ คิดเป็นร้อยละ

                       0.30 ของพื้นที่ศักยภาพของดิน โดยอ าเภอที่มีพื้นที่ศักยภาพอยู่ในระดับความเหมาะสมเล็กน้อย (S3)
                       ส าหรับปลูกมะพร้าวมากที่สุด ได้แก่ อ าเภอมหาราช 2,417 ไร่ อ าเภอบางปะหัน 1,792 ไร่ และ
                       อ าเภอผักไห่ 414 ไร่ ตามล าดับ
                                     ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N)  มีเนื้อที่ 1,587,367 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 99.70
                       ของพื้นที่ศักยภาพของดิน โดยอ าเภอที่มีพื้นที่ศักยภาพอยู่ในระดับความไม่เหมาะสม (N) ส าหรับปลูก

                       มะพร้าวมากที่สุด ได้แก่ อ าเภอบางปะอิน 161,549 ไร่ อ าเภอวังน้อย 146,353 ไร่ และอ าเภอบาง
                       ไทร  142,962 ไร่ ตามล าดับ
                                     2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกมะพร้าวในปัจจุบัน คือ พื้นที่ปลูกมะพร้าวในปัจจุบัน
                       จ าแนกตามชั้นความเหมาะสมต่าง ๆ โดยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีพื้นที่ปลูกมะพร้าวในพื้นที่ไม่
                       เหมาะสมเท่านั้น มีเนื้อที่ 501  ไร่ และเป็นพื้นที่ปลูกบนพื้นที่ศักยภาพไม่เหมาะสมทั้งหมด กระจายอยู่

                       ในอ าเภอบางไทร  119 ไร่ อ าเภอภาชี 118 ไร่ และอ าเภอลาดบัวหลวง 109 ไร่  เป็นต้น
                                    3) พื้นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกมะพร้าวแต่ยังไม่มีการปลูก
                       พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินส าหรับมะพร้าว และพื้นที่เพาะปลูกมะพร้าวในชั้นความเหมาะสม

                       ต่าง ๆ (ปลูกจริง) พบว่าจังหวัดพระนครศรีอยุธยาไม่มีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือในการปลูกมะพร้าว
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22