Page 20 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนนทบุรี
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               13







                       ที่ร่ม และที่โล่งแจ้ง แต่จะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีความชื้นในดินพอเหมาะ

                       ในกรณีที่ต้องการปรับปรุงดินควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอก ดูแลง่าย สามารถปลูกแซมระหว่างแปลง

                       4  แนวทางการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจ

                         4.1  ข้าว

                             1) พื้นที่ปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกข้าวอยู่ มีเนื้อที่ 115,565
                       ไร่ กระจายตัวอยู่ในอำเภอไทรน้อย อำเภอบางบัวทอง อำเภอบางใหญ่ อำเภอปากเกร็ด อำเภอบางกรวย

                       และอำเภอเมืองนนทบุรี พื้นที่ทั้ง 6 อำเภอ อยู่ในเขตชลประทาน ทั้งนี้โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดิน

                       จังหวัดสมควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของจังหวัด และมี
                       การบริหารจัดการน้ำชลประทาน การจัดการดิน ปุ๋ย พันธุ์ข้าว โดยรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่ พัฒนา

                       ต่อยอดครบวงจรการตลาดในและต่างประเทศการแปรรูป แหล่งทุน มีภาครัฐสนับสนุนการทำมาตรฐาน
                       สินค้าเกษตรอินทรีย์ และ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP)

                       เนื่องจากเป็นพื้นที่ศักยภาพสูง การปลูกพืชหลังนาจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นการ

                       ปรับปรุงบำรุงดิน ทั้งนี้ภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรโดยแนะนำว่าพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ที่มี
                       ความเหมาะสมต่อการปลูกข้าวจึงไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น หากข้าวราคาไม่ดีถ้าต้องการ

                       เปลี่ยนชนิดพืชควรเป็นพืชไร่ เพื่อที่ในอนาคตจะได้กลับมาทำนาได้อีก
                             2) พื้นที่ปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกข้าวอยู่ มีเนื้อที่

                       109,869 ไร่ กระจายตัวอยู่ในเขตอำเภอไทรน้อย อำเภอบางบัวทอง อำเภอบางใหญ่ อำเภอบางกรวย

                       และอำเภอปากเกร็ด เป็นพื้นที่ปลูกข้าวที่มีข้อจำกัดไม่มากนัก เกษตรกรยังคงปลูกข้าวได้ผลดี หลายแห่ง

                       ประสบปัญหาขาดน้ำในบางช่วงของการเพาะปลูก การสนับสนุนด้านการชลประทาน จะสร้างความมั่นใจ

                       ให้กับเกษตรกรในการใช้ที่ดิน ปัญหาการทิ้งถิ่นจะลดลง และพื้นที่ในเขตนี้มีความเหมาะสมสูงสำหรับ

                       การเกษตรแบบผสมผสาน หรือเกษตรทฤษฎีใหม่

                             3) พื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกรยังคงใช้ที่ดิน
                       ปลูกข้าวอยู่ ทั้งนี้ควรให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม

                       โดยสนับสนุนการปรับโครงสร้างที่ดิน ปรับปรุงบำรุงดิน สนับสนุนแหล่งน้ำ ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืช
                       ชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสม และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตอาหารเพื่อบริโภคใน

                       ครัวเรือน หรือเข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น

                             4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว แต่ปัจจุบันเกษตรกรไม่ได้
                       ใช้พื้นที่ปลูกข้าว โดยหันมาปลูกพืชสวนครัวและไม้ดอกไม้ประดับ เกษตรกรรวมกลุ่มกันเพื่อซื้อขาย

                       ผลผลิตแลกเปลี่ยนความรู้ทัศนคติ เกษตรกรมีความมั่นใจมากกว่าการปลูกข้าวอย่างเดียว แต่ใน

                       อนาคตเกษตรกรสามารถกลับมาปลูกข้าวหรือทำการเกษตรแบบผสมผสานแทน
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25