Page 8 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนครนายก
P. 8

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                1






                       1. ข้อมูลทั่วไป


                           จังหวัดนครนายกมีพื้นที่  2,122 ตารางกิโลเมตร  หรือ 1,326,250  ไร่ ตั้งอยู่ในภาคกลางของ

                       ประเทศไทย ประกอบด้วย 4 อำเภอ 41 ตำบล (ตารางผนวกที่ 1) มีจำนวนประชากร  260,081  คน
                       (กรมการปกครอง, 2563)

                         1.1  อาณาเขตติดต่อ
                              ทิศเหนือ     ติดต่อ จังหวัดสระบุรี และจังหวัดนครราชสีมา

                              ทิศใต้       ติดต่อ จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดปราจีนบุรี

                              ทิศตะวันออก  ติดต่อ จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดปราจีนบุรี
                              ทิศตะวันตก    ติดต่อ จังหวัดปทุมธานี

                         1.2  ภูมิประเทศ

                             สภาพภูมิประเทศของจังหวัดนครนายกโดยทั่วไปเป็นที่ราบทางตอนเหนือและตะวันออก
                       มีพื้นที่เป็นภูเขาสูงชัน ในเขตอำเภอบ้านนา อำเภอเมืองนครนายก และอำเภอปากพลี ส่วนหนึ่งอยู่ใน

                       เขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งเป็นเขตรอยต่อ 3 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี นครราชสีมา และปราจีนบุรี

                       มีเทือกเขาติดต่อกับเทือกเขาดงพญาเย็น ยอดเขาสูงที่สุดคือ ยอดเขาเขียว สูงจากระดับทะเลปานกลาง
                       1,351 เมตร ตอนกลางและตอนใต้เป็นที่ราบซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ราบสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

                         1.3  ภูมิอากาศ
                             สภาพภูมิอากาศของจังหวัดนครนายก ได้รับอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือตั้งแต่

                       กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์  ทำให้อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง และมรสุมตะวันตก
                       เฉียงใต้ ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม  ทำให้อากาศชุ่มชื้นและมีฝนตก มีอุณหภูมิเฉลี่ย

                       ตลอดทั้งปี 28.3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 33.9 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยคือ

                       23.8 องศาเซลเซียส
                         1.4  ทรัพยากรดิน

                             ทรัพยากรดินของจังหวัดนครนายก  แบ่งตามภูมิสัณฐาน ลักษณะทางธรณีวิทยา และวัตถุ

                       ต้นกำเนิดดิน ได้ดังนี้
                               1) พื้นที่ที่น้ำทะเลเคยท่วมถึง  (Former Tidal Flats) เป็นพื้นที่ที่น้ำทะเลเคยท่วมถึง

                       ในอดีต เป็นช่วงต่อระหว่างตะกอนแม่น้ำกับตะกอนน้ำจืด  มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ  หรือเป็น

                       แอ่งต่ำมีน้ำขังตลอดปี การระบายน้ำเลวมาก  มีเนื้อดินเป็นดินทรายแป้งละเอียดหรือดินเหนียว  ที่มี
                       การพัฒนาชั้นดินไม่มากนัก  สีเทาอ่อน มีจุดประสีน้ำตาลแก่ สีน้ำตาลปนเหลือง และน้ำตาลปนเขียว

                       มะกอก เช่น ชุดดินรังสิต (Rs) ชุดดินองครักษ์ (Ok) เป็นต้น
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13