Page 10 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนครนายก
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                3







                               (3) พัฒนาจากหินไรโอไลต์ ดินตื้นถึงชั้นเศษหิน เนื้อดินเป็นดินร่วนปนชิ้นส่วนหยาบมาก มี
                       สีน้ำตาล น้ำตาลปนเหลือง และน้ำตาลปนแดง ดินมีการระบายน้ำดี อาทิ ชุดดินไพศาลี (Phi)

                             5) พื้นเกือบราบ (Peneplain)  เป็นภูมิลักษณ์ของพื้นผิวดินภายหลังการกร่อน เกิดจากการ
                       ผุพังด้วยกระบวนการกร่อนทำลายโดยน้ำ  ทำให้พื้นที่สูงเดิมซึ่งขรุขระและสูงต่ำแตกต่างกันมาก  มี

                       ระดับต่ำ จนมีลักษณะคล้ายลูกคลื่นลอนลาดหรือพื้นที่เกือบราบ  วัตถุต้นกำเนิดดินเกิดจากการผุพัง

                       สลายตัวอยู่กับที่หรือเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกล ดินจึงมีลักษณะเด่นตามวัตถุต้นกำเนิดหรือหิน
                       ที่รองรับอยู่ด้านล่างและระดับการพัฒนาตัวของดิน ภูมิสัณฐานที่พบในจังหวัดนครนายก ได้แก่ พื้นที่

                       ราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย ดินลึก เนื้อดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวปนทราย ดินร่วนเหนียว
                       และดินร่วนเหนียวปนทราย มีสีเทาหรือสีน้ำตาลปนเทา ตอนบนพบจุดประสีน้ำตาลหรือแดง ตอนล่าง

                       พบจุดประสีน้ำตาล น้ำตาลปนเหลือง และเหลือง และอาจพบศิลาแลงอ่อนในตอนล่างของหน้าตัดดิน

                       ดินมีการระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงดีปานกลาง อาทิ ชุดดินปักธงชัย (Ptc)
                             6) พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน  เป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันมากกว่าร้อยละ  35 ทรัพยากรดินมี

                       ความแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่

                             ซึ่งได้แสดงรายละเอียดของชุดดินที่พบมากของจังหวัดนครนายก ในภาพที่ 1 - 5
                         1.5  สภาพการใช้ที่ดิน

                             สภาพการใช้ที่ดินปัจจุบันของจังหวัดนครนายก จากฐานข้อมูลแผนที่สภาพการใช้ที่ดิน

                       ของกรมพัฒนาที่ดิน (ตารางที่ 1)
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15