Page 9 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดอุบลราชธานี
P. 9

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                2








                         1.4  ทรัพยากรดิน
                             ทรัพยากรดินของจังหวัดอุบลราชธานี แบ่งตามภูมิสัณฐาน ลักษณะทางธรณีวิทยา และวัตถุ
                       ต้นกำเนิดดิน ได้ดังนี้
                             1) ที่ราบน้ำท่วมถึง (Flood plain) ที่ราบริมแม่น้ำหรือลำธาร หน้าฝนหรือหน้าน้ำมักมี

                       น้ำท่วมเป็นครั้งคราว เป็นสภาพพื้นที่ที่เกิดจาการทับถมของตะกอนน้ำพา และมีตะกอนเพิ่มมากขึ้น
                       หลังน้ำท่วม แบ่งเป็น
                               (1) สันดินริมน้ำ (Levee) เป็นที่ดอน เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำพาบริเวณริมฝั่ง
                       แม่น้ำ เป็นสันนูนขนานไปกับริมฝั่งแม่น้ำ การระบายน้ำค่อนข้างดีถึงดี เนื้อดินค่อนข้างหยาบ เช่น

                       ชุดดินชุมพลบุรี (Chp)
                               (2) ที่ลุ่มหลังสันดินริมน้ำ (Back swamp, basin) เป็นที่ลุ่มน้ำขังอยู่ระหว่างสันดินริมน้ำ
                       กับตะพักลำน้ำหรือด้านข้างหุบเขา การระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงเลว ดินลึกมาก เนื้อดินเหนียวละเอียด
                       สีเทาและน้ำตาลปนเทา เช่น ชุดดินกันทรลักษณ์วิชัย (Ka)

                             2) ที่ราบตะกอนน้ำพา (Alluvial plain) เป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลของแม่น้ำหรือลำน้ำสาขา
                       วัตถุต้นกำเนิดดินเป็นตะกอนน้ำพา (Alluvium) มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบขนาดใหญ่สองฝั่งแม่น้ำ แต่ละ
                       ฝั่งอาจมีที่ราบแบบขั้นบันไดหรือตะพักได้หลายระดับ แบ่งเป็น

                               (1) ตะพักลำน้ำระดับต่ำ (Low terrace) เป็นที่ลุ่ม มีสภาพพื้นที่ราบเรียบ ดินลึกมาก
                       เนื้อดินอาจเป็นดินเหนียวละเอียดถึงดินทรายแป้งละเอียด สีเทา น้ำตาลปนเทา และน้ำตาล มีจุดประ
                       สีต่าง ๆ การระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงเลว เช่น ชุดดินหนองบุญนาค (Nbn) ชุดดินศรีขรภูมิ (Sik) ชุด
                       ดินธวัชบุรี (Th) และตะกอนน้ำพาเชิงซ้อน (AC)
                               (2) ตะพักลำน้ำระดับกลางและระดับสูง (Middle and high terrace) เป็นที่ดอน มีสภาพ

                       พื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด ดินตื้นถึงชั้นกรวดลูกรังถึงดินลึกมาก เนื้อดินเป็นดินร่วน
                       หยาบ ดินร่วนละเอียดหรือดินร่วนปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีน้ำตาล เหลือง น้ำตาลปนแดงไปจนถึงแดง
                       การระบายน้ำดีปานกลางถึงดี เช่น ชุดดินธาตุพนม (Tp)

                             3) พื้นที่เกือบราบ (Peneplain) ครอบคลุมพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของจังหวัด
                       อุบลราชธานี วัตถุต้นกำเนิดดินเกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่หรือถูกเคลื่อนย้ายมาในระยะทาง
                       ไม่ไกลนักของวัสดุเนื้อหยาบที่มาจากหินตะกอน ที่ส่วนใหญ่เป็นพวกหินทราย แต่จะไม่ค่อยพบ
                       ชิ้นส่วนหรือเศษหินของหินทรายในหน้าตัดดินหรือบริเวณผิวหน้าดิน แบ่งเป็น

                               (1) พื้นที่แบบราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย การระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงเลว
                       ในบริเวณที่ราบลุ่มหรือที่ราบ หรือตามร่องระหว่างที่ดอนหรือเนิน เนื้อดินส่วนใหญ่มีทรายปน มีสีเทา
                       หรือน้ำตาลปนเทา พบจุดสีต่างๆ ถัดขึ้นมาบริเวณพื้นที่ที่ค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นลอนลาด
                       เล็กน้อย มีสีน้ำตาล น้ำตาลปนเหลือง และเหลือง และมีจุดประสีเทาค่อนข้างชัดเจน โดยเฉพาะ

                       ในช่วงตอนบนเนื่องจากการขังน้ำ พบจุดประสีเหลือง น้ำตาล หรือแดงในดินล่าง มีการระบายน้ำ
                       ค่อนข้างเลวถึงดีปานกลาง อาจพบชั้นดินเหนียวในตอนล่างของหน้าตัด และอาจพบชั้นลูกรังในช่วงที่
                       เปลี่ยนจากเนื้อดินหยาบเป็นเนื้อดินละเอียด ค่าปฏิกิริยาดินในสนามส่วนใหญ่เป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง
                       เช่น ชุดดินชำนิ (Cni) ชุดดินละหานทราย (Lah) ชุดดินมหาสารคาม (Msk) ชุดดินาดูน (Nad) ชุดดิน

                       โนนแดง (Ndg) ชุดดินโพนพิสัย (Pp) ชุดดินท่าอุเทน (Tu) ชุดดินอุบล (Ub) และชุดดินวาริน (Wn)
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14