Page 8 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดอุบลราชธานี
P. 8

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                ค








                       1. ข้อมูลทั่วไป
                            จังหวัดอุบลราชธานีมีพื้นที่ 15,744.850 ตารางกิโลเมตร หรือ 9,840,531 ไร่ ตั้งอยู่จังหวัดใน
                       ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ประกอบด้วย 25 อำเภอ 217 ตำบล (ตารางผนวกที่ 1) มีประชากร

                       1,866,697 คน (กรมการปกครอง, 2563)

                         1.1  อาณาเขตติดต่อ
                             ทิศเหนือ      ติดต่อ จังหวัดอำนาจเจริญ และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
                             ทิศใต้       ติดต่อ จังหวัดศรีสะเกษ และประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย
                             ทิศตะวันออก   ติดต่อ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน ลาว

                             ทิศตะวันตก    ติดต่อ จังหวัดยโสธร และจังหวัดศรีสะเกษ

                         1.2  ภูมิประเทศ
                             สภาพภูมิประเทศของจังหวัดอุบลราชธานีโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง สูงจากระดับทะเลปาน
                       กลาง 120-140 เมตร ประกอบด้วยลักษณะภูมิประเทศดังนี้
                             1) ที่ลาดเชิงเขา เป็นที่ลาดเชิงเขาที่ตะกอนบริเวณที่เกิดจากการกระทำของน้ำนานมาแล้ว

                       ทับถมกัน ครอบคลุมพื้นที่ในอำเภอโขงเจียม พิบูลมังสาหาร ศรีเมืองใหม่ และตระการพืชผล
                             2) ที่ลาดเชิงซ้อน ลักษณะเป็นภูเขาหรือทิวเขามีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์
                       ได้แก่ ทิวเขาพนมดงรักในเขตอำเภอน้ำยืน นาจะหลวย และบุณฑริก และภูเขา ซึ่งพบมากในอำเภอ

                       โขงเจียมและศรีเมืองใหม่
                             3) ที่ราบและสันดินริมน้ำ เกิดจากตะกอนลำน้ำที่พัดพามาทับถม สภาพพื้นที่เป็นเนิน
                       สันดินริมฝั่งแม่น้ำโขง และบางบริเวณสันดินริมฝั่งลำเซบาย
                             4) ลานตะพักลำน้ำระดับต่ำ ระดับกลาง และระดับสูง มีทั้งที่เป็นที่ราบแบบลูกคลื่นลอน

                       ลาดจนถึงลูกคลื่นลอนชัน อยู่ถัดจากบริเวณที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงขึ้นมาพื้นที่เหล่านี้จะพบในบริเวณ
                       ทั่วไปของจังหวัด
                             5) แอ่งหรือที่ลุ่มต่ำหลังลำน้ำ เกิดจากการกระทำของน้ำพบบางแห่งในบริเวณริม
                       แม่น้ำโขง แม่น้ำชี ลำเซบาย และลำโดมใหญ่

                         1.3  ภูมิอากาศ

                             สภาพภูมิอากาศของจังหวัดอุบลราชธานีเป็นแบบร้อนชื้นหรือภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้า
                       สะวันนา (Aw) ตามการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน ได้รับอิทธิพลของมรสุมที่พัดประจำฤดูกาล 2
                       ชนิด คือ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพัดมวลอากาศเย็นและแห้งจากประเทศจีนเข้าปกคลุม
                       ประเทศไทย มี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ อากาศ

                       หนาวจัดในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือน
                       พฤษภาคม อากาศร้อนจัดในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี และฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึง
                       กลางเดือนตุลาคม ฝนตกชุกที่สุดในเดือนสิงหาคม มีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 33.0 องศาเซลเซียส และ
                       อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 22.1 องศาเซลเซียส
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13