Page 20 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดอุบลราชธานี
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               13








                             4) แนวทางการจัดการ
                               (1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้เกษตรกร
                       ปลูกข้าวต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี
                       ซึ่งการปลูกข้าวในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอดโครงการที่สำคัญต่าง ๆ ได้ เช่น เกษตร

                       อินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ เป็นต้น
                                 พื้นที่ปลูกข้าวในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูกข้าวในที่ดินที่ไม่มี
                       ข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกข้าว ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญของจังหวัด โดย
                       กระจายอยู่ในอำเภอเมืองขอนแก่น อำเภอน้ำพอง อำเภอชุมแพ เป็นต้น

                                 พื้นที่ปลูกข้าวในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือพื้นที่ปลูกข้าวในที่ดินที่มี
                       ข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกข้าว เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง
                       และแหล่งน้ำ โดยกระจายอยู่ในอำเภอหนองสองห้อง อำเภอเมืองขอนแก่น อำเภอมัญจาคีรี เป็นต้น
                               (2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้

                       เข้าโครงการปรับเปลี่ยนการผลิต เช่น ทำการเกษตรผสมผสานหรือพืชที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า
                       โดยพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย

                         2.2  ยางพารา
                             ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของอุบลราชธานีลำดับที่ 2 จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตร
                       เชิงรุก หรือ Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 5 และภาพที่ 8 - 9)

                             1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูก
                                  ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 645,644 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 8.34
                       ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอพิบูลมังสาหาร 143,281 ไร่ อำเภอเดชอุดม

                       106,246 ไร่ และอำเภอบุณฑริก 60,115 ไร่
                                  ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 4,164,660 ไร่ คิดเป็น
                       ร้อยละ 53.79 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอเขื่องใน 363,692 ไร่ อำเภอ
                       ม่วงสามสิบ 351,854 ไร่ และอำเภอตระการพืชผล 341,659 ไร่

                                  ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 317,347 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       4.10 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายอยู่ในอำเภอโพธิ์ไทร 79,382 ไร่ อำเภอทุ่งศรีอุดม 44,613 ไร่
                       และอำเภอโขงเจียม 30,017 ไร่
                                  ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 2,615,032 ไร่

                             2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกยางพาราในปัจจุบัน ซึ่งจำแนกตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน
                       ได้ดังนี้
                                  (1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 45,806 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 7.09 ของพื้นที่ศักยภาพสูง
                       กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอน้ำยืน 13,946 ไร่ อำเภอบุณฑริก 9,395 ไร่ และอำเภอเดชอุดม 6,859 ไร่

                                  (2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 382,762 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 9.19 ของพื้นที่ศักยภาพ
                       ปานกลาง กระจายอยู่ในอำเภอบุณฑริก 57,713 ไร่ อำเภอเดชอุดม 56,050 ไร่ และอำเภอสิรินธร 48,345 ไร่
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25