Page 12 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดบุรีรัมย์
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                5







                          ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N)
                         จังหวัดบุรีรัมย์ มีพื้นที่พืชเศรษฐกิจสําคัญที่ปลูกมาก 4 ลําดับแรก ได้แก่ ข้าว  อ้อยโรงงาน มันสําปะหลัง
                       และยางพารา ตามลําดับ (ตารางที่ 2)

                       ตารางที่ 2 พื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจที่มีพื้นที่ปลูกมาก 4 ลําดับแรกของจังหวัดบุรีรัมย์

                          พืชเศรษฐกิจที่สําคัญ            เนื้อที่ (ไร่)       ร้อยละของพื้นที่เกษตรกรรม
                       1. ข้าว                            3,107,231                      64.10

                       2. อ้อยโรงงาน                       561,206                       11.58
                       3. มันสําปะหลัง                     449,264                       9.27

                       4. ยางพารา                          344,347                       7.10
                       ที่มา: https://agri-map-online.moac.go.th, 2564


                        2.1  ข้าว
                               ข้าวพืชเศรษฐกิจหลักของบุรีรัมย์ ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้มีการปลูกพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และ
                       พันธุ์กข15 เนื่องจากมีตลาดขนาดใหญ่รองรับ และเป็นที่นิยม ประกอบกับเกษตรกรมีความถนัดใน
                       การผลิตมาตั้งแต่อดีต จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตรเชิงรุก หรือ Agri-Map Online วิเคราะห์ข้อมูล

                       ได้ดังนี้ (ตารางที่ 3 และภาพที่ 6 - 7)
                               1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกข้าว
                                  ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 242,977  ไร่ คิดเป็นร้อยละ 4.23
                       ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน 5,742,267 ไร่ พบมากอยู่ในอําเภอละหานทราย 30,939 ไร่ อําเภอเมือง

                       บุรีรัมย์ 27,741 ไร่ และอําเภอกระสัง 24,052 ไร่
                                  ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 2,250,027  ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       39.18 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน 5,742,267 ไร่ พบมากอยู่ในอําเภอลําปลายมาศ 335,872 ไร่ อําเภอ
                       ประโคนชัย 312,646 ไร่ และอําเภอเมืองบุรีรัมย์ 303,579 ไร่

                                  ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 1,618,546 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       28.19 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน 5,742,267 ไร่ พบมากอยู่ในอําเภอกระสัง 181,674 ไร่ อําเภอ
                       นางรอง 175,224 ไร่ และอําเภอประโคนชัย 133,546 ไร่
                                  ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 1,630,717 ไร่

                               2) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกข้าวที่ปลูกจริงในปัจจุบัน
                                  (1)  พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) ในการปลูกข้าว มีเนื้อที่ 135,216 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 55.65 ของ
                       พื้นที่เหมาะสมสูง พบมากอยู่ในอําเภอละหานทราย 25,796 ไร่  อําเภอกระสัง 20,567 ไร่ และอําเภอ
                       เมืองบุรีรัมย์ 16,721 ไร่

                                  (2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) ในการปลูกข้าว มีเนื้อที่ 1,707,493 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       75.89 ของพื้นที่เหมาะสมปานกลาง พบมากอยู่ในอําเภอประโคนชัย 266,673 ไร่ อําเภอ
                       ลําปลายมาศ 259,871 ไร่ และอําเภอเมืองบุรีรัมย์ 231,598 ไร่
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17