Page 11 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดบุรีรัมย์
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                4







                        1.6  พื้นที่ชลประทาน
                           จังหวัดบุรีรัมย์มีเนื้อที่ชลประทาน 297,989 ไร่ (ร้อยละ 4.75 ของพื้นที่จังหวัด) กระจายอยู่
                       ใน 16 อําเภอมีอ่างเก็บน้ําที่สําคัญ 16 อ่าง มีศักยภาพในการเก็บกักน้ําได้รวม 387.598 ล้านลูกบาศก์เมตร
                       พื้นที่ชลประทานมีความสําคัญในการพิจารณาเพิ่มศักยภาพการผลิตที่เหมาะสม (ตารางผนวกที่ 2

                       และตารางผนวกที่ 3)

                        1.7  เขตปฏิรูปที่ดิน
                           เขตปฏิรูปที่ดินในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ มีเนื้อที่ 1,776,498 ไร่ (ร้อยละ 28.32 ของพื้นที่จังหวัด)
                       โดยอําเภอที่มีพื้นทีเขตปฏิรูปที่ดินมากที่สุด ได้แก่ อําเภอละหานทราย อําเภอนางรอง และอําเภอ
                       ประโคนชัย ตามลําดับ (ตารางผนวกที่ 4)

                        1.8  การขึ้นทะเบียนเกษตรกร

                           จากฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร จังหวัดบุรีรัมย์ มีการขึ้น
                       ทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ทั้งหมดในปี 2563 จํานวน 278,158   ราย รวมพื้นที่
                       3,690,483 ไร่ สําหรับพื้นที่ดําเนินการแต่ละกิจกรรมรวมกันมากกว่า 500 ไร่ มีจํานวน 17 กิจกรรม
                       และกิจกรรมที่มีพื้นที่ปลูกมากได้แก่ ข้าวนาปี มันสําปะหลังโรงงาน ยางพารา เป็นต้น (ตารางผนวกที่ 5)

                           ทะเบียนเกษตรพืชสมุนไพร จากฐานข้อมูลกลาง (Farmer        One) ของสํานักงานเศรษฐกิจ
                       การเกษตร เกษตรกรได้ขึ้นทะเบียนปลูกพืชสมุนไพรในจังหวัดบุรีรัมย์ พื้นที่ 48 ไร่ เกษตรกร 12 ราย มีพืช
                       สมุนไพรหลัก ๆ 6 ชนิด สมุนไพรที่มีการปลูกมาก ได้แก่ ว่านหางจระเข้ กระชายดํา พลู ตามลําดับ

                       (ตารางผนวกที่ 6)
                        1.9  ที่ตั้งโรงงานและแหล่งรับซื้อสินค้าเกษตร

                           จังหวัดบุรีรัมย์มีแหล่งรับซื้อสินค้าเกษตรและสหกรณ์การเกษตรที่สําคัญ จํานวน 110 แห่ง

                       และที่ตั้งโรงงานทางการเกษตร 102 แห่ง โดยมีที่ตั้งสหกรณ์การเกษตรมากที่สุด 88 แห่ง (ตารางผนวกที่ 7)

                       2. การวิเคราะห์พืชเศรษฐกิจหลัก

                          พืชเศรษฐกิจที่สําคัญพิจารณาจากพืชที่มีพื้นที่ปลูกมากและมีมูลค่าการส่งออกหรือแปรรูปโดย

                       กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศพืชเศรษฐกิจ 13 ชนิดพืช ได้แก่ ข้าว มันสําปะหลัง ยางพารา
                       ปาล์มน้ํามัน อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สับปะรดโรงงาน ลําไย เงาะ ทุเรียน มังคุด มะพร้าว และ
                       กาแฟ จากพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจดังกล่าว กรมพัฒนาที่ดินได้กําหนดระดับความเหมาะสมของพื้นที่
                       ปลูกรายจังหวัด โดยวิเคราะห์จากสภาพพื้นที่ ลักษณะของดิน ปริมาณน้ําฝน แหล่งน้ําชลประทาน

                       ร่วมกับการจัดการพื้นที่และลักษณะรายพืช โดยแบ่งระดับความเหมาะสม เป็น 4 ระดับ ได้แก่
                          ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) การปลูกพืชให้ผลตอบแทนสูง
                          ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) การปลูกพืชให้ผลตอบแทนสูง แต่พบ
                       ข้อจํากัดบางประการซึ่งสามารถบริหารจัดการได้

                          ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีข้อจํากัดการบางประการของดินและน้ํา
                       ส่งผลให้การผลิตพืชให้ผลตอบแทนต่ํา การใช้พื้นที่ต้องใช้ต้นทุนสูงในการจัดการ และมีความเสี่ยงจาก
                       น้ําท่วมและขาดน้ํา
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16