Page 31 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนครราชสีมา
P. 31

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               24








                             4) แนวทางการจัดการ

                               (1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้เกษตรกร
                       ปลูกมันสำปะหลังต่อไป เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิตที่มี
                       คุณภาพดี ซึ่งการปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอดโครงการที่สำคัญ

                       ต่าง ๆ ได้ เช่น เกษตรอินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ เป็นต้น
                                 พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังใน
                       ที่ดินที่ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกมันสำปะหลังซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกมันสำปะหลังที่
                       สำคัญของจังหวัด โดยกระจายอยู่อำเภอปากช่อง อำเภอโชคชัย อำเภอด่านขุนทด และอำเภอครบุรี เป็นต้น

                                 พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือพื้นที่ปลูก
                       มันสำปะหลังในที่ดินที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกมันสำปะหลัง เช่น ความอุดม
                       สมบูรณ์ของดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง และแหล่งน้ำ โดยกระจายอยู่ในอำเภอด่านขุนทด อำเภอสีคิ้ว
                       อำเภอครบุรี และอำเภอหนองบุญมาก เป็นต้น

                               (2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้เข้า
                       โครงการปรับเปลี่ยนการผลิต เช่น ทำการเกษตรผสมผสานหรือพืชที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า โดยพิจารณา
                       แหล่งรับซื้อร่วมด้วย

                           2.3  อ้อยโรงงาน

                                  อ้อยโรงงานเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดนครราชสีมาในลำดับที่ 3 จากฐานข้อมูล
                       ในแผนที่เกษตรเชิงรุก หรือ Agri-Map Online วิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 3 พื้นที่ดังนี้


                                     1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกอ้อยโรงงาน
                                       ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 32,529 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.30
                       ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากอยู่ในอำเภอโชคชัย 7,130 ไร่ อำเภอปักธงชัย 6,169 ไร่ และ
                       อำเภอพิมาย 5,462 ไร่
                                     ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 4,857,771 ไร่ คิดเป็น

                       ร้อยละ 45.57 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากอยู่ในอำเภอด่านขุนทด 556,187 ไร่ อำเภอสีคิ้ว
                       473,916 ไร่ และอำเภอปากช่อง 452,472 ไร่
                                       ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 925,932 ไร่ คิดเป็นร้อย

                       ละ 8.68 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากอยู่ในอำเภออำเภอปากช่อง 281,999 ไร่ อำเภอ
                       วังน้ำเขียว 143,237 ไร่ และอำเภอครบุรี 103,997 ไร่
                                       ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 4,847,415 ไร่
                                   2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานในปัจจุบัน

                                     (1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) ในการปลูกอ้อยโรงงาน มีเนื้อที่ 1,266 ไร่ คิดเป็น
                       ร้อยละ 3.89 ของพื้นที่ศักยภาพสูง พบมากอยู่ในอำเภอด่านขุนทด 400 ไร่ อำเภอพิมาย 211 ไร่ และ
                       อำเภอโชคชัย 196 ไร่
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36