Page 8 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนครพนม
P. 8

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                2








                       1.4  ทรัพยากรดิน
                             ทรัพยากรดินจังหวัดนครพนมแบ่งตามภูมิสัณฐาน ลักษณะทางธรณีวิทยา วัตถุต้นกำเนิดดิน

                       ได้ดังนี้
                             1) ที่ราบน้ำท่วมถึง (Flood plain) ได้รับอิทธิพลของแม่น้ำหรือน้ำสาขา วัตถุต้นกำเนิด

                       ดินเป็นตะกอนน้ำพา (Alluvium) สภาพพื้นที่ที่ค่อนข้างราบเรียบถึงราบเรียบ ในหน้าฝนหรือน้ำหลาก

                       มักมีน้ำท่วมและมีการทับถมของตะกอนเพิ่มมากขึ้นหลังน้ำท่วม แบ่งเป็น
                               (1)  สันดินริมน้ำ (Levee) เป็นที่ดอน เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำพาบริเวณริมฝั่ง

                       แม่น้ำ เป็นสันนูนขนานไปกับริมฝั่งแม่น้ำ การระบายน้ำค่อนข้างดีถึงดี เนื้อดินค่อนข้างหยาบ เช่น
                       ชุดดินชุมพลบุรี (Chp)

                               (2) ส่วนต่ำของสันดินริมน้ำ (Lower part of levee) เป็นดินลุ่ม มีสภาพพื้นที่ค่อนข้าง

                       ราบเรียบ ดินลึกมาก เนื้อดินร่วนหยาบถึงดินทรายแป้งละเอียด มีสีเทาและน้ำตาลปนเทา การระบาย
                       น้ำค่อนข้างเลว เช่น ชุดดินธาตุพนม (Tp)

                               (3) ที่ลุ่มหลังสันดินริมน้ำ (Back swamp, basin) เป็นที่ลุ่มน้ำขังอยู่ระหว่างสันดินริมน้ำ

                       กับตะพักลำน้ำหรือด้านข้างหุบเขา การระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงเลว ดินลึกมาก เนื้อดินเหนียวละเอียด
                       สีเทาและน้ำตาลปนเทา เช่น ชุดดินศรีสงคราม (Ss)


                             2) ที่ราบตะกอนน้ำพา (Alluvial plain) เป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลของแม่น้ำหรือลำน้ำสาขา
                       วัตถุต้นกำเนิดดินเป็นตะกอนน้ำพา (Alluvium) มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบขนาดใหญ่สองฝั่งแม่น้ำ แต่ละฝั่ง

                       อาจมีที่ราบแบบขั้นบันไดหรือตะพักได้หลายระดับ จังหวัดนครพนมพบส่วนของตะพักลำน้ำ
                       ระดับต่ำ (Low terrace) ซึ่งเป็นที่ลุ่ม มีสภาพพื้นที่ราบเรียบ ดินลึกมาก เนื้อดินอาจเป็นดินเหนียว

                       ละเอียดถึงดินทรายแป้งละเอียด สีเทา น้ำตาลปนเทา และน้ำตาล มีจุดประสีต่าง ๆ การระบายน้ำ

                       ค่อนข้างเลวถึงเลว เช่น ชุดดินนครพนม (Nn) และชุดดินหนองบุญนาก (Nbn) เป็นต้น

                             3) พื้นเกือบราบ (Peneplain) ครอบคลุมพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของจังหวัดนครพนม

                       วัตถุต้นกำเนิดดินเกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่หรือเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนัก
                       ของวัสดุเนื้อหยาบที่มาจากหินตะกอน ที่ส่วนใหญ่เป็นพวกหินทราย แต่จะไม่ค่อยพบชิ้นส่วนหรือ

                       เศษหินของหินทรายในหน้าตัดดินหรือบริเวณผิวหน้าดิน ดินจึงมีลักษณะเด่นตามวัตถุต้นกำเนิดหรือหิน
                       ที่รองรับอยู่ด้านล่างและระดับการพัฒนาตัวของดิน แบ่งเป็น ชุดดินเรณู (Rn) ชุดดินสีทน (St) ส่วนที่

                       เป็นพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาด ลูกคลื่นลอนชัน และเนินเขา ดินลึกและลึกปานกลาง เนื้อดินมีทรายปน ได้แก่

                       ดินร่วนเหนียวปนทราย ดินร่วนปนทราย ดินทรายปนดินร่วน สีน้ำตาล น้ำตาลปนแดง พบจุดประ
                       สีต่าง ๆ ลูกรัง และเศษหินปะปนในตอนล่างของหน้าตัดดิน ดินมีการระบายน้ำค่อนข้างดีถึงดี เช่น

                       ชุดดินโคราช (Kt) และชุดดินพระทองคำ (Ptk) เป็นต้น
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13