Page 10 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนครพนม
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                4








                         1.6  พื้นที่ชลประทาน
                             จังหวัดนครพนมมีเนื้อที่ชลประทาน 38,819 ไร่ (ร้อยละ 1.11 ของพื้นที่จังหวัด) กระจายอยู่ใน

                       6 อำเภอ มีอ่างเก็บน้ำที่สำคัญ 20 อ่าง มีศักยภาพในการเก็บกักน้ำได้ รวม 48.85 ล้านลูกบาศก์เมตร
                       อ่างเก็บน้ำที่สำคัญ คือ อ่างเก็บน้ำห้วยแดน มีระดับกักเก็บอยู่ที่ 0.550 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ

                       11.00 ของน้ำเก็บกักของอ่างเก็บน้ำในจังหวัดนครพนม (ตารางผนวกที่ 2 และตารางผนวกที่ 3)

                         1.7  เขตปฏิรูปที่ดิน

                             เขตปฏิรูปที่ดินพื้นที่จังหวัดนครพนม มีเนื้อที่ 465,916 ไร่ (ร้อยละ 13.33 ของพื้นที่จังหวัด)

                       โดยอำเภอที่มีพื้นที่เขตปฏิรูปมากที่สุด ได้แก่ อำเภอศรีสงคราม อำเภอนาทม และอำเภอโพนสวรรค์
                       ตามลำดับ (ตารางผนวกที่ 4)


                         1.8  การขึ้นทะเบียนเกษตรกร
                             จากฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร จังหวัดนครพนม มีการขึ้น

                       ทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ทั้งหมดในปี 2563 จำนวน 159,246 ราย รวมพื้นที่
                       1,804,822 ไร่ กิจกรรมที่มีพื้นที่ปลูกมาก ได้แก่ ข้าวนาปี ยางพารา ข้าวนาปรัง เป็นต้น (ตารางผนวกที่ 5)

                             ทะเบียนเกษตรกรพืชสมุนไพร จากฐานข้อมูลกลาง (farmer One) ของสำนักงานเศรษฐกิจ

                       การเกษตร เกษตรกรได้ขึ้นทะเบียนปลูกพืชสมุนไพรในจังหวัดนครพนม พื้นที่ 324 ไร่ เกษตรกร 31 ราย
                       มีพืชสมุนไพรหลัก 8 ชนิด สมุนไพรที่มีการปลูกมาก คือ ตะไคร้หอม คราม กฤษณา ตามลำดับ

                       (ตารางผนวกที่ 6)

                         1.9  ที่ตั้งโรงงานและแหล่งรับซื้อสินค้าเกษตร

                             จังหวัดนครพนมมีแหล่งรับซื้อสินค้าเกษตรและสหกรณ์การเกษตรที่สำคัญ จำนวน 11 แห่ง

                       และมีโรงงานทางการเกษตร 23 แห่ง โดยมีที่ตั้งโรงงานด้านการเกษตรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมากที่สุด
                       17 แห่ง (ตารางผนวกที่ 7)


                       2. การวิเคราะห์พืชเศรษฐกิจหลัก

                           พืชเศรษฐกิจที่สำคัญพิจารณาจากพืชที่มีพื้นที่ปลูกมากและมีมูลค่าการส่งออกหรือแปรรูป

                       โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศพืชเศรษฐกิจ 13 ชนิดพืช ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา
                       ปาล์มน้ำมัน อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สับปะรดโรงงาน ลำไย เงาะ ทุเรียน มังคุด มะพร้าว และ

                       กาแฟ จากพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจดังกล่าว กรมพัฒนาที่ดินได้กำหนดระดับความเหมาะสมของพื้นที่ปลูก

                       รายจังหวัด โดยวิเคราะห์จากสภาพพื้นที่ ลักษณะของดิน ปริมาณน้ำฝน แหล่งน้ำชลประทาน ร่วมกับ
                       การจัดการพื้นที่และลักษณะรายพืช โดยแบ่งระดับความเหมาะสม เป็น 4 ระดับ ได้แก่

                           ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) การปลูกพืชให้ผลตอบแทนสูง
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15