Page 10 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดชัยภูมิ
P. 10
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
3
4) ที่ลาดเชิงเขา (Piedmont) เขา (Hill) ภูเขา (Mountain) มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่น
ลอนลาดถึงเนินเขาที่เกิดจากการที่หินผุพังสลายตัวอยู่กับที่หรือถูกเคลื่อนย้ายโดยแรงโน้มถ่วงของโลก
ในระยะทางใกล้ ๆ และถูกควบคุมด้วยลักษณะของโครงสร้างทางธรณีวิทยา ส่วนใหญ่พบหินปะปน
ในหน้าตัดดินและลอยหน้า แบ่งตามลักษณะและชนิดของหินดังนี้
(1) พัฒนาจากหินทราย ดินตื้นถึงชั้นเศษหินหรือหินพื้นถึงดินลึกมาก เนื้อดินเป็นดินทราย
ปนดินร่วนถึงดินร่วนปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีแดง น้ําตาล และน้ําตาลปนแดง การระบายน้ําดีถึง
มากเกินไป พบเศษหินปะปนในหน้าตัดดินหรือบนผิวดิน เช่น ชุดดินภูพาน (Pu) ชุดดินวังน้ําเขียว (Wk)
เป็นต้น
(2) พัฒนาจากหินทรายแป้ง ดินตื้นถึงชั้นเศษหินหรือหินพื้นถึงดินลึกมาก เนื้อดินเป็น
ดินร่วนละเอียดถึงดินเหนียวละเอียด สีแดง น้ําตาล หรือน้ําตาลปนแดง การระบายน้ําดี พบเศษหินปะปน
ในหน้าตัดดินหรือบนผิวดิน เช่น ชุดดินวังไห ชุดดินวังไห (Wi) ชุดดินจัตุรัส (Ct) เป็นต้น
(3) พัฒนาจากหินดินดาน ดินมีการระบายน้ําดีปานกลางถึงดี สีน้ําตาล น้ําตาลปนเหลือง
น้ําตาลปนแดง เหลือง หรือแดง เป็นดินเหนียว ค่าปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง เช่น ชุดดิน
วังสะพุง (Ws) ชุดดินมวกเหล็ก (Ml) เป็นต้น
ซึ่งได้แสดงรายละเอียดของชุดดินที่พบมากของจังหวัดชัยภูมิ ในภาพที่ 1 - 5
1.5 สภาพการใช้ที่ดิน
สภาพการใช้ที่ดินปัจจุบันของจังหวัดชัยภูมิ จากฐานข้อมูลแผนที่สภาพการใช้ที่ดินของ
กรมพัฒนาที่ดิน (ตารางที่ 1)
ตารางที่ 1 สภาพการใช้ที่ดินปัจจุบันของจังหวัดชัยภูมิ
เนื้อที่
ประเภทการใช้ที่ดิน
ไร่ ร้อยละ
พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง 319,004 3.99
พื้นที่เกษตรกรรม 4,487,533 56.19
พื้นที่นา 1,624,610 20.34
พืชไร่ 2,498,611 31.29
ไม้ยืนต้น 278,625 3.49
ไม้ผล 61,028 0.76
พืชสวน 1,469 0.02
ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ 13,378 0.17
พืชน้ํา 113 -
สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา 8,538 0.11
เกษตรผสมผสาน/ไร่นาสวนผสม 1,161 0.01
พื้นที่ป่าไม้ 2,699,505 33.80
พื้นที่น้ํา 216,873 2.72
พื้นที่เบ็ดเตล็ด 263,514 3.30
รวม 7,986,429 100.00
ที่มา: กรมพัฒนาที่ดิน, 2562