Page 72 - รายงานการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดฉะเชิงเทรา
P. 72

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

             64    การส�ารวจความหลากหลายทางชีวภาพ
                   ศูนย์ศึกษำกำรพัฒนำเขำหินซ้อนอันเนื่องมำจำกพระรำชด�ำริ จังหวัดฉะเชิงเทรำ



                    3.  ส�ารวจทางอ้อม (indirect census) เป็นการส�ารวจจากเครื่องหมายที่สัตว์ท�าไว้  (เส้นขน
                  ซาก รอยตีน รู รัง) และเสียงร้อง โดยสอบถามจากนักวิชาการ และชาวบ้านที่มีความช�านาญ

                    4.  จ�าแนกชนิดสัตว์โดยใช้คู่มือและเอกสารทางอนุกรมวิธานของสัตว์แต่ละประเภท เช่น Mammals
                  of Thailand โดย Lekagul and McNeely (1977) A Guide to the Birds of Thailand โดย Lekagul
                  and Round (1991) A Photographic Guide to Snakes and other Reptiles of Thailand and

                  Southeast Asia โดย Cox et al. (1998) คู่มือสัตว์สะเทินน�้าสะเทินบกในเมืองไทย โดยธัญญา (2546)
                  และคู่มือปลาน�้าจืด โดยชวลิต (2547) เป็นต้น

                    5.  จัดท�าตารางชนิดและสถานภาพของสัตว์ที่ได้จากการส�ารวจ โดยสถานภาพตามกฎหมาย จ�าแนก
                  ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 สถานภาพด้านการอนุรักษ์ระดับประเทศ
                  จ�าแนกตาม Nabhitabhata and Chan–ard (2005) และสถานภาพด้านการอนุรักษ์ระดับนานาชาติ

                  จ�าแนกตาม International Union for Conservation of Nature, 2007





                                                ผลการศึกษา








                    จากการศึกษาความหลากหลายของสัตว์มีกระดูกสันหลังในศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่อง

                  มาจากพระราชด�าริ ในช่วงเดือนตุลาคม 2563 ถึงเดือนกันยายน 2564 พบสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งสิ้น
                  209 ชนิด ใน 163 สกุล 92 วงศ์ โดยจ�าแนกออกเป็นสัตว์ประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้



                    1. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม



                     ส�ารวจพบ 19 ชนิด ใน 14 สกุล 10 วงศ์ วงศ์ที่มีความหลากหลายมากที่สุด 2 อันดับแรก คือ
                  วงศ์หนู (Family Muridae) พบทั้งสิ้น 5 ชนิด ได้แก่ หนูพุกใหญ่ หนูพุกเล็ก หนูฟานใหญ่ หนูนาใหญ่
                  และหนูบ้านท้องขาว และวงศ์ที่มีความหลากหลายรองลงมา คือ วงศ์กระรอก (Family Sciuridae)

                  พบทั้งสิ้น 3 ชนิด ได้แก่ กระรอกปลายหางด�า กระรอกหลากสี และกระจ้อน ในจ�านวนนี้ ถ้าแบ่ง
                  สถานภาพตามกฎหมาย จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง 9 ชนิด ได้แก่ ค้างคาวปีกถุงเคราด�า พังพอนธรรมดา
                  ค้างคาวหน้ายักษ์สีจาง กระต่ายป่า ค้างคาวแวมไพร์แปลงใหญ่ ค้างคาวแวมไพร์แปลงเล็ก ค้างคาวแม่
                  ไก่ภาคกลาง ค้างคาวมงกุฏมลายู และเป็นสัตว์ป่านอกคุ้มครอง 10 ชนิด ได้แก่ หนูพุกใหญ่ หนูพุกเล็ก

                  หนูฟานเหลือง หนูนาใหญ่ หนูบ้านท้องขาว ถ้าแบ่งสถานภาพด้านการถูกคุกคามระดับประเทศ จัดเป็น
                  สัตว์ใกล้ถูกคุกคาม (near threatened) 1 ชนิด คือ ค้างคาวแม่ไก่ภาคกลาง อีก 18 ชนิด ไม่ได้รับการ
                  ประเมินการถูกคุกคาม (not evaluated) ส่วนสถานภาพด้านการถูกคุกคามระดับนานาชาติ จัดเป็นสัตว์
                  ที่เป็นกังวลน้อยที่สุด (least concern) ทั้ง 19 ชนิด (ตารางผนวกที่ 2)
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77