Page 136 - รายงานการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดฉะเชิงเทรา
P. 136

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

            128    การส�ารวจความหลากหลายทางชีวภาพ
                   ศูนย์ศึกษำกำรพัฒนำเขำหินซ้อนอันเนื่องมำจำกพระรำชด�ำริ จังหวัดฉะเชิงเทรำ



                                                วิธีการศึกษา








                    ท�าการศึกษาในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ จังหวัดฉะเชิงเทรา

                  และพื้นที่ใกล้เคียง ระหว่างเดือนตุลาคม 2563 ถึงเดือนกันยายน 2564 มีขั้นตอนการศึกษา ดังนี้

                    1.  ตรวจสอบเอกสารงานวิจัย บทความ และข้อมูลทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการส�ารวจแมลงใน
                  พื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ จังหวัดฉะเชิงเทรา และพื้นที่ใกล้เคียง

                    2.  ส�ารวจทางตรง (direct census) เป็นการส�ารวจเพื่อให้เห็นตัวแมลงจริง โดยออกส�ารวจ

                  ทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ให้ครอบคลุมพื้นที่มากที่สุด กระจายให้ครบทุกถิ่นอาศัย (habitat) เช่น
                  ป่าธรรมชาติ สวนพฤกษศาสตร์ แปลงไม้ผล แปลงพืชไร่ แหล่งน�้า และอาคาร เป็นต้น

                    3.  เก็บตัวอย่างแมลงเพื่อท�าเป็นตัวอย่างแห้ง ส�าหรับใช้ระบุชนิดในห้องปฏิบัติการ บันทึกข้อมูล
                  รายละเอียดเกี่ยวกับพืชและส่วนของพืชที่เก็บตัวอย่าง สถานที่ วัน เดือน ปีที่เก็บ ชื่อผู้เก็บ ลงบนกระดาษ

                  เขียนแบบ (กระดาษลอกลาย) โดยใช้ปากกาชนิดที่หมึกสามารถคงสภาพได้ในน�้ายาเก็บรักษา น�าใส่ไว้
                  ในขวดที่เก็บตัวอย่างแมลง ส่วนตัวอย่างแมลงที่เก็บรักษาโดยวิธีการท�าสไลด์ถาวร ให้บันทึกข้อมูล

                  รายละเอียดลงบนกระดาษที่สามารถน�าไปติดบริเวณด้านข้างของแผ่นสไลด์แก้วได้ โดยวางแผ่นสไลด์
                  แก้วให้ด้านหัวของตัวอย่างแมลงชี้เข้าหาผู้เขียน ด้านขวามือให้ลงรายละเอียดเกี่ยวกับพืชอาศัย ประเทศ
                  สถานที่เก็บตัวอย่าง วัน เดือน ปี และชื่อผู้เก็บ ด้านซ้ายมือให้ลงรายละเอียดชื่อวิทยาศาสตร์ เพศ

                  น�้ายาเมาท์สไลด์ วัน เดือน ปี ที่เมาท์สไลด์ และบันทึกภาพประกอบ

                    4.  น�าตัวอย่างแมลงไปตรวจจ�าแนกชื่อวิทยาศาสตร์จากเอกสารทางอนุกรมวิธานของแมลง เช่น
                  แมลง การจ�าแนกและการเก็บตัวอย่าง โดยศิริณี (2548) อนุกรมวิธานแมลง โดยไสว (2544)

                  คู่มือแมลง โดยเกรียงไกรและจารุจินต์ (2551) และส่งให้ผู้เชี่ยวชาญด้านแมลงช่วยตรวจจ�าแนกให้

                    5.  น�าข้อมูลที่ได้มาเรียบเรียง วิเคราะห์ และจัดท�าตารางชนิดของแมลงที่ได้จากการส�ารวจ
   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141