Page 59 - การสำรวจจัดทำสำมะโนที่ดินเพื่อการพัฒนาที่ดินในโครงการปลูกไม้ยืนต้นทนเค็มเพื่อป้องกันการกระจายดินเค็ม 2564 พื้นที่ลุ่มน้ำห้วยขามเรียน จังหวัดขอนแก่น
P. 59

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          49



                                     การรับบริการองค์ความรู้และแปลงสาธิตการใช้ประโยชน์พื้นที่ดินเค็ม พบว่า เกษตรกรได้รับ
                       บริการองค์ความรู้การปรับรูปแบบคันนาให้มีฐานกว้างเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ปลูกต้นไม้ยืนต้นทนเค็ม/

                       พืชเศรษฐกิจ/ยูคาลิปตัส H4 ทนเค็ม จำนวน 100 แปลง (ร้อยละ 4.23) ได้รับบริการองค์ความรู้การปรับรูปแบบ
                       กระทงนาให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น จำนวน 16 แปลง (ร้อยละ 0.68) ได้รับบริการองค์ความรู้การปรับ
                       รูปแบบร่องน้ำรอบกระทงนาเพื่อระบายน้ำไปเก็บน้ำไว้ในร่องรักษาความชื้น จำนวน 14 แปลง (ร้อยละ 0.59)
                       ได้รับองค์ความรู้การลดระดับน้ำใต้ดินป้องกันการแพร่กระจายดินเค็มโดยการทำบ่อน้ำตื้นด้านระบบโซล่าเซลส์
                       จำนวน 7 แปลง (ร้อยละ 0.29)  ได้รับองค์ความรู้การก่อสร้างระบบระบายเกลือใต้ดินเพื่อลดความเค็มจัด

                       จำนวน 2 แปลง (ร้อยละ 0.09) และเกษตรกรไม่เคยได้รับบริการองค์ความรู้ จำนวน 2,226 แปลง
                       (ร้อยละ 94.12)

                       5.2   ปัญหาและอุปสรรค
                              1. เกษตรกรเจ้าของพื้นที่หรือผู้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดำเนินงาน มีภูมิลำเนาอยู่นอกพื้นที่ทำให้ไม่มี
                       ข้อมูลจากการสัมภาษณ์โดยตรง การประสานงานในกลุ่มเกษตรกรไม่ทั่วถึง และบางรายไม่ให้ความสำคัญ

                       กับการดำเนินงานของโครงการ
                              2. ในช่วงปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ เกษตรบางกลุ่มจะติดภารกิจในการเข้าดูแลพืชผลที่ปลูกจึง
                       ไม่สามารถเข้ามาให้ข้อมูลได้

                              3. การระบาดของโรค (โควิด-19) ทำให้การเข้าพื้นที่สัมภาษณ์และชี้แปลงเกษตรกรในพื้นที่
                       ไม่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ ส่งผลให้การจัดเก็บข้อมูลล่าช้าไม่ครบถ้วน และบุคลากรมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด
                       5.3   ข้อเสนอแนะ
                              สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต สถานีพัฒนาที่ดิน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำข้อมูลและแผนที่ไปใช้

                       ประโยชน์ได้ดังนี้
                              1. สามารถนำแผนที่การถือครองที่ดินและข้อมูลอรรถาธิบาย (Attribute) มาใช้ในงานของ
                       กรมพัฒนาที่ดิน และหน่วยงานต่าง ๆ ภายในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น
                                     - ทัศนคติของเกษตรกรสำหรับงานด้านพัฒนาที่ดิน และปัญหาด้านการเกษตร สามารถ

                       ใช้เป็นฐานข้อมูลประกอบการให้คำแนะนำในการจัดการดินสำหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจตามความ
                       เหมาะสมเป็นรายแปลงได้
                                     - ปัญหาการขาดแคลนน้ำสำหรับการเกษตร สามารถใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับงานด้าน
                       การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการพัฒนาที่ดินและแหล่งน้ำ เช่น การอนุรักษ์ดินและน้ำ การสร้าง

                       แหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน และการสร้างแหล่งน้ำเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ
                                     - การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรแปลงใหญ่ การวางแผนเพื่อการขายพืชผลทางการเกษตร
                              2. สามารถนำแผนที่การถือครองที่ดินและข้อมูลอรรถาธิบาย (Attribute) ใช้เป็นฐานข้อมูลด้าน

                       การตรวจสอบ การปรับปรุง และจัดทำข้อมูลเชิงพื้นที่ของข้อมูลด้านดิน ด้านสภาพการใช้ที่ดิน ด้านการ
                       กำหนดเขตเหมาะสมสำหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจ (โซนนิ่ง) ด้านระบบการจัดการน้ำและระบบ
                       การกระจายน้ำ ด้านเศรษฐกิจสังคม ด้านปัญหาและความต้องการด้านการเกษตร
                              3. สามารถบูรณาการแผนที่การถือครองที่ดินและข้อมูลอรรถาธิบาย (Attribute) สำหรับงาน
                       ด้านการขึ้นทะเบียนเกษตรกรร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของ
                       กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

                              4. สามารถนำข้อมูลเขตเหมาะสมสำหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจตามประกาศของกระทรวงเกษตร
                       และสหกรณ์มาใช้ได้ในระดับรายแปลง
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64