Page 58 - การสำรวจจัดทำสำมะโนที่ดินเพื่อการพัฒนาที่ดินในโครงการปลูกไม้ยืนต้นทนเค็มเพื่อป้องกันการกระจายดินเค็ม 2564 พื้นที่ลุ่มน้ำห้วยขามเรียน จังหวัดขอนแก่น
P. 58

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          48



                       มากที่สุด จำนวน 1,090 แปลง (ร้อยละ 46.09) ปุ๋ยเคมี จำนวน 963 แปลง (ร้อยละ 40.72) ปุ๋ยอินทรีย์

                       จำนวน 209 แปลง (ร้อยละ 8.84) และไม่ใช้ปุ๋ย จำนวน 103 แปลง (ร้อยละ 4.35) การใช้สารเคมี
                       ปราบโรคพืช ศัตรูพืชและวัชพืช พบว่า เกษตรกร จำนวน 558 แปลง (ร้อยละ 23.59) และไม่ใช้สารเคมี
                       ในการปราบโรคพืชศัตรูพืชและวัชพืช จำนวน 1,807 แปลง (ร้อยละ 76.41)  การปลูกไม้ยืนต้นที่มี
                       มูลค่าทางเศรษฐกิจของเกษตร พบว่า เกษตรกรมีการปลูกไม้ยืนต้นที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ จำนวน 205 แปลง

                       (ร้อยละ 8.67) ไม่มีการปลูกไม้ยืนต้นที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ จำนวน 2,160 แปลง (ร้อยละ 91.33)
                                     ในด้านรายได้จากผลผลิตทางเกษตรของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรขาดทุนจากผลผลิต
                       ทางเกษตร จำนวน 1,407 แปลง (ร้อยละ 59.49) เกษตรกรไม่มีรายได้จากผลผลิตทางเกษตร

                       แต่สำรองไว้เพื่อบริโภคและใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ในปีถัดไป จำนวน 699 แปลง (ร้อยละ 29.56) และ
                       เกษตรกรมีรายได้จากผลผลิตทางเกษตร จำนวน 175 แปลง (ร้อยละ 7.40)

                            5.1.3 ข้อมูลปัญหาทางด้านการเกษตร
                                     ปัญหาทางด้านการเกษตร พบว่า เกษตรกรประสบปัญหาภัยแล้งมากที่สุด จำนวน

                       1,916 แปลง (ร้อยละ 81.01) รองลงมา คือ ราคาผลผลิตต่ำ จำนวน 1,534 แปลง (ร้อยละ 64.86)
                       ต้นทุนการผลิตสูง จำนวน 1,341 แปลง (ร้อยละ 56.70) ดินมีปัญหา จำนวน 626 แปลง (ร้อยละ
                       26.47) โรคพืช/ศัตรูพืช จำนวน 517 แปลง (ร้อยละ 21.86) น้ำท่วม จำนวน 45 แปลง (ร้อยละ
                       1.90) และเกษตรกรไม่มีปัญหาทางด้านการเกษตร จำนวน 32 แปลง (ร้อยละ 1.35)

                                     ดินที่ใช้ในการเพาะปลูกในพื้นที่ พบว่า เกษตรกรมีปัญหาของดินเหนียว มากที่สุด จำนวน
                       795 แปลง (ร้อยละ 33.62) รองลงมา คือ ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ จำนวน 740 แปลง (ร้อยละ 31.29)
                       ดินทราย จำนวน 467 แปลง (ร้อยละ 19.75) ดินเค็ม จำนวน 456 แปลง (ร้อยละ 19.28) ดินตื้น

                       จำนวน 17 แปลง (ร้อยละ 0.72) ดินลูกรัง จำนวน 16 แปลง (ร้อยละ 0.68) ดินปัญหาด้านอื่น ๆ (ดินทราย
                       ปนดินเหนียว ดินเปรี้ยว ฯลฯ ) จำนวน 36 แปลง (ร้อยละ 1.52) และเกษตรกรไม่มีปัญหาของดิน
                       จำนวน 7 แปลง (ร้อยละ 0.29)

                            5.1.4 ข้อมูลการรับบริการจากกรมพัฒนาที่ดิน
                                     การเข้าร่วมกิจกรรมบัตรดินดีของกรมพัฒนาที่ดิน พบว่า เกษตรกรเข้าร่วมกิจกรรมบัตรดินดี

                       จำนวน 218 แปลง (ร้อยละ 9.22) และเกษตรกรยังไม่เข้าร่วมกิจกรรมบัตรดินดี จำนวน 2,147 แปลง
                       (ร้อยละ 90.78) การรับบริการปัจจัยการผลิต พบว่า เกษตรกรได้รับบริการเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด มากที่สุด
                       จำนวน 512 แปลง (ร้อยละ 21.65)  ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ พ.ด.จำนวน 385 แปลง (ร้อยละ 16.28)
                       ปูนโดโลไมท์/ปูนขาว จำนวน 239 แปลง (ร้อยละ 10.11) ตรวจสอบตัวอย่างดิน จำนวน 124 แปลง
                       (ร้อยละ 5.24) ก่อสร้างแหล่งน้ำในไร่นา จำนวน 90 แปลง (ร้อยละ 3.80) กล้าหญ้าแฝก จำนวน 16 แปลง

                       (ร้อยละ 0.68) และไม่เคยได้รับบริการ จำนวน 999 แปลง (ร้อยละ 42.24)
                                     การรับบริการความรู้วิชาการ การแก้ไขปัญหาดินเค็มและการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสม
                       พบว่า เกษตรกรได้รับความรู้ ข่าวสาร ผ่านผู้นำกลุ่มเกษตรกรและหมอดินอาสา จำนวน 96 แปลง

                       (ร้อยละ 4.06) การอบรม ประชุม ชี้แจง 1 ครั้งต่อปี จำนวน 43 แปลง (ร้อยละ 1.82) ได้รับคำแนะนำ
                       วางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินรายแปลง จำนวน 30 แปลง (ร้อยละ 1.27) ได้รับอบรม ประชุม ชี้แจง
                       มากกว่า 1 ครั้งต่อปี จำนวน 23 แปลง (ร้อยละ 0.97) และเกษตรกรไม่เคยได้รับบริการความรู้ จำนวน
                       2,173 แปลง (ร้อยละ 91.88)
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63