Page 3 - การสำรวจจัดทำสำมะโนที่ดินเพื่อการพัฒนาที่ดินในโครงการปลูกไม้ยืนต้นทนเค็มเพื่อป้องกันการกระจายดินเค็ม 2564 พื้นที่ลุ่มน้ำห้วยขามเรียน จังหวัดขอนแก่น
P. 3

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                            ข



                       และปูนโดโลไมท์/ปูนขาว ร้อยละ 10.11 รายได้จากผลผลิตทางการเกษตร พบว่าเกษตรกรขาดทุนจาก
                       ผลผลิตทางการเกษตรมากที่สุด ร้อยละ 59.49 รองลงมา เกษตรกรไม่มีรายได้จากผลผลิตทางการเกษตร
                       แต่สำรองไว้เพื่อบริโภคและใช้เป็นเมล็ดพันธุ์สำหรับปีถัดไป ร้อยละ 29.56 และได้กำไรจากผลผลิตทาง

                       การเกษตร ร้อยละ 7.40 การปลูกไม้ยืนต้น พบว่า เกษตรกรมีการปลูกไม้ยืนต้นที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ
                       ร้อยละ 8.67 ด้านการรับบริการความรู้ทางวิชาการ พบว่า เกษตรกรได้รับความรู้ ข่าวสาร ผ่านผู้นำกลุ่ม
                       เกษตรกรและหมอดินอาสา คิดเป็นร้อยละ 4.06 รองลงมาเป็นการอบรม ประชุม ชี้แจง 1 ครั้งต่อปี
                       ร้อยละ 1.82 นอกจากนี้เกษตรกรได้รับบริการองค์ความรู้และแปลงสาธิตการใช้ประโยชน์พื้นที่ดินเค็ม
                       ได้แก่ บริการองค์ความรู้การปรับรูปแบบคันนาให้มีฐานกว้างเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ปลูกต้นไม้ยืนต้น

                       ทนเค็ม/ยูคาลิปตัส H4 ทนเค็ม ร้อยละ 4.23  การปรับรูปแบบกระทงนาให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น ร้อยละ 0.68
                       และการปรับรูปแบบร่องน้ำรอบกระทงนาเพื่อระบายน้ำไปเก็บน้ำไว้ในร่องรักษาความชื้น ร้อยละ 0.59
                              ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการจัดทำสำมะโนที่ดินเพื่อการพัฒนาที่ดินจะเป็นฐานข้อมูลแผนที่

                       การถือครองที่ดินด้านการเกษตรที่อยู่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เช่น ข้อมูลเกษตรกร ประเภทของ
                       การถือครองที่ดิน ขนาดของแปลงที่ดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน แหล่งน้ำ ปัญหาด้านการเกษตร และข้อมูล
                       การขึ้นทะเบียนเกษตรกร เป็นต้น ซึ่งเมื่อนำมาบูรณาการกับฐานข้อมูลด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
                       เช่น ดิน น้ำบนผิวดิน น้ำใต้ดิน การอนุรักษ์ดินและน้ำ การปรับปรุงบำรุงดิน  ตลอดจนการส่งเสริมและ

                       สนับสนุนการรวมกลุ่มของเกษตรกรด้วยแล้ว สามารถวางแผนงานโครงการ และกำหนดทิศทาง
                       การปฏิบัติงานตามวิสัยทัศน์ “พัฒนาที่ดินให้สมบูรณ์ เพิ่มพูนผลผลิต ในทิศทางการใช้ประโยชน์ที่ดิน
                       อย่างยั่งยืน บนพื้นฐานการมีส่วนร่วม”
                              อนึ่ง การนำแผนที่ และสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปใช้ ผู้ใช้งานควรมีเจ้าหน้าที่แผนที่ภาพถ่ายหรือ

                       บุคลากรด้านภูมิสารสนเทศ ร่วมด้วย ทั้งนี้เพื่อดึงฐานข้อมูลที่อยู่ภายในแผนที่เชิงเลขมาใช้ประโยชน์
                       ได้อย่างสูงสุด
   1   2   3   4   5   6   7   8