Page 2 - การสำรวจจัดทำสำมะโนที่ดินเพื่อการพัฒนาที่ดินในโครงการปลูกไม้ยืนต้นทนเค็มเพื่อป้องกันการกระจายดินเค็ม 2564 พื้นที่ลุ่มน้ำห้วยขามเรียน จังหวัดขอนแก่น
P. 2

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                            ก



                                                      บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

                              การดำเนินงานในโครงการสำรวจจัดทำสำมะโนที่ดินเพื่อการพัฒนาที่ดินปีงบประมาณ

                       พ.ศ. 2564 ในโครงการปลูกไม้ยืนต้นทนเค็ม เพื่อป้องกันการแพร่กระจายดินเค็ม มีวัตถุประสงค์
                       เพื่อสำรวจภาวะการถือครองที่ดินของเกษตรกรอย่างละเอียด ซึ่งผลของการดำเนินงานทำให้ได้ข้อมูลที่อยู่
                       ในรูปของสารสนเทศภูมิศาสตร์ ประกอบด้วยรายชื่อผู้ถือครองที่ดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน ตลอดจน
                       กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นด้านการเกษตรที่เกษตรกรได้กระทำในพื้นที่ เช่น แหล่งน้ำที่ใช้ด้านการเกษตร

                       ปัญหาในการทำการเกษตร สัดส่วนขนาดของแปลงที่ดินของเกษตรกร เป็นต้น ทั้งนี้โดยใช้ฐานข้อมูลแปลงที่ดิน
                       เชิงเลขจากกรมที่ดิน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตลอดจนข้อมูลแผนที่กระดาษ หลักฐาน
                       การเสียภาษีของเกษตรกรที่องค์การบริหารส่วนตำบล และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่ถูกรวบรวม และ
                       ปรับให้อยู่ในระบบแผนที่เชิงเลข

                              สำหรับการปฏิบัติงานในพื้นที่ เจ้าหน้าที่จะทำการประสานงานกับผู้นำชุมชนในแต่ละหมู่บ้าน
                       เพื่อประชาสัมพันธ์การเข้าปฏิบัติงาน รวมถึงการเชิญชวนให้เกษตรกรนำหลักฐานเกี่ยวกับแปลงที่ดิน
                       ของตนเอง เข้ามาให้ข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์จากแบบสอบถาม และชี้แปลงที่ดินบนแผนที่ภาพถ่ายที่ได้

                       เตรียมมาจากสำนักงาน เพื่อใช้เป็นข้อมูลวิเคราะห์เชิงพื้นที่เสนอกรมฯ และหน่วยงานต่าง ๆ สำหรับ
                       รูปแบบการเก็บข้อมูลในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
                                       ได้ขอความอนุเคราะห์สถานีพัฒนาที่ดินขอนแก่นและผู้นำชุมชน ในการประสานงาน
                      (COVID-19)
                       ส่งแบบสอบถามทั้งแบบกระดาษและแบบออนไลน์ (E-Questionnaire) ซึ่งทำให้สามารถปฏิบัติงาน

                       ได้อย่างต่อเนื่อง
                              จากการคำนวณด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ พื้นที่ลุ่มน้ำห้วยขามเรียน จังหวัดขอนแก่น
                       มีเนื้อที่ 87,436 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโนนศิลา อำเภอชนบท อำเภอพล และ
                       อำเภอบ้านไผ่  เป็นพื้นที่ทางการเกษตร ร้อยละ 88.23 และเป็นพื้นที่นอกการเกษตร (ที่อยู่อาศัย สถานที่

                       ราชการ โรงเรียน วัด ที่สาธารณะประโยชน์) ร้อยละ 11.77 จากกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสำรวจ  มีเกษตรกร
                       เป็นเจ้าของที่ดิน ร้อยละ 75.48 ญาติ/เข้าทำเปล่า ร้อยละ 23.08 และเช่า ร้อยละ 1.44 โดยหลักฐาน
                       การถือครองที่ดินมากที่สุด 3 ลำดับ เป็นเอกสารสิทธิประเภทโฉนดที่ดิน ร้อยล ะ  92.64
                       ส.ป.ก.4-01 ร้อยละ 5.03 และน.ส. 3 ก. ร้อยละ 2.33 สำหรับขนาดของสัดส่วนแปลงที่ดินส่วนใหญ่

                       อยู่ในช่วง 1 - 5 ไร่ ร้อยละ 38.13 รองลงมาแปลงที่ดินมีขนาด 5- 10 ไร่ ร้อยละ 31.13 และ
                       แปลงที่ดินที่มีขนาด 10 - 20 ไร่ ร้อยละ 17.51
                              ด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน (ระดับ 3 ของกรมพัฒนาที่ดิน) พบว่า เกษตรกรทำนามากที่สุด ร้อยละ
                       93.11 รองลงมา คือ ไร่นาสวนผสม ร้อยละ 2.45 ด้านการใช้แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร เกษตรกรใช้แหล่งน้ำ

                       จากฝนอย่างเดียว ร้อยละ 89.30 ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตมากที่สุด ๒ อันดับแรก ได้แก่ ภัยแล้ง
                       ร้อยละ 81.01 รองลงมาเป็นราคาผลผลิตต่ำ ร้อยละ 64.86 ปัญหาด้านดินที่พบในพื้นที่มากที่สุด 3 อันดับแรก
                       ได้แก่ ปัญหาดินเหนียว ร้อยละ 33.62 รองลงมาเป็นปัญหาดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ร้อยละ 31.29
                       และดินทราย ร้อยละ 19.75 ตามลำดับ การใช้ปุ๋ย พบว่า เกษตรกรมีการใช้ปุ๋ยเคมี/ปุ๋ยอินทรีย์ มากที่สุด

                       ร้อยละ 46.09 รองลงมา คือ ปุ๋ยเคมี ร้อยละ 40.72 ปุ๋ยอินทรีย์ ร้อยละ 8.84 และไม่ใช้ปุ๋ย ร้อยละ
                       4.35 การใช้สารเคมี พบว่า เกษตรกรมีการใช้สารเคมีปราบโรคพืช ศัตรูพืชและวัชพืช ร้อยละ 23.59
                       และไม่ใช้สารเคมีปราบโรคพืชศัตรูพืชและวัชพืช ร้อยละ 76.41 การเข้าร่วมบัตรดินดี พบว่า เกษตรกร

                       เข้าร่วมกิจกรรมบัตรดินดี ร้อยละ 9.22 ด้านการรับบริการปัจจัยการผลิตจากกรมพัฒนาที่ดิน 3 อันดับแรก
                       ได้แก่ เมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด ร้อยละ 21.65 รองลงมาเป็นผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ พ.ด.ร้อยละ 16.28
   1   2   3   4   5   6   7