Page 39 - การจัดการอินทรียวัตถุในดินเพื่อการผลิตข้าวโพดหวานในระบบเกษตรอินทรีย์ จังหวัดสตูล Soil Organic Matter Management for Sweet Corn Production in Organic Agriculture System, Sutun Province.
P. 39

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          32



                                                       สรุปผลการทดลอง


                         จากการศึกษาการจัดการอินทรียวัตถุในดินเพื่อการผลิตข้าวโพดหวานในระบบเกษตรอินทรีย์ จังหวัดสตูล
                  สรุปผลการทดลองได้ดังนี้
                         1. การศึกษาสมบัติทางเคมีของดิน  พบว่า คุณสมบัติทางเคมีของดินทั้งก่อนและหลังการทดลอง ไม่มีความ
                  แตกต่างทางสถิติ  โดยหลังการทดลองในปีที่ 1 ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น  ยกระดับค่าความ

                  เป็นกรดเป็นด่างในดินให้สูงขึ้น แต่ค่าความเป็นกรดเป็นด่างยังอยู่ในระดับกรดจัด เช่นเดียวกับผลการวิเคราะห์ดินในปี
                  ที่ 2 พบว่า ผลวิเคราะห์ทุกตำรับการทดลองพบว่าดินมีแนวโน้มมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างลดลง  แต่ยังค่าอยู่ในระดับ
                  กรดจัด ดังนั้นการใส่ปุ๋ยหมัก พด.1  ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 และปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่าความ
                  เป็นกรดเป็นด่างของดินเพียงเล็กน้อย สับกลบตอซังข้าวโพดหวานทำให้ดินมีปริมาณอินทรียวัตถุ (OM) ปริมาณ
                  แคลเซียม (Ca) และปริมาณแมกนีเซียม (Mg) ในดินเพิ่มขึ้น  ดินมีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (Available P)
                  ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ (Available K) ลดลงทุกตำรับการทดลอง
                         2. การเจริญเติบโต พบว่าการใส่ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 อัตรา 300 กก.ต่อไร่ ร่วมกับสับกลบตอซังข้าวโพดหวาน

                  ทำให้ความสูงต้นข้าวโพดหวานมีแนวโน้มสูงกว่าตำรับการทดลองอื่น ๆ
                         3. จากการเก็บข้อมูลผลผลิต(กิโลกรัมต่อไร่) ในการทดลองปีที่ 1 และ ปีที่ 2 พบว่าการใส่ปุ๋ยหมักพด.1 อัตรา
                  2,000 กก.ต่อไร่ ร่วมกับสับกลบตอซังข้าวโพดหวาน มีแนวโน้มให้น้ำหนักผลผลิต(กิโลกรัมต่อไร่)สูงกว่าตำรับการ
                  ทดลองอื่น ๆ
                         4. จากการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพผลผลิตข้าวโพดหวาน พบว่า  ตำรับการทดลองที่ 1, 4 และตำรับการ
                  ทดลองที่ 7 ที่การสับกลบตอซังข้าวโพดมีแนวโน้มให้ความยาวฝักยาวกว่าตำรับการทดลองอื่น ๆ  การใส่ปุ๋ยหมัก พด.
                  1, ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 และปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ไม่มีผลต่อเส้นผ่าศูนย์ฝักข้าวโพดหวาน  ปุ๋ยหมักพด.1 และปุ๋ยชีวภาพ
                  พด.12 มีแนวโน้มให้ค่าความหวานเมล็ดสดดีกว่าตำรับการทดลองอื่น ๆ
                         5. การใส่ปุ๋ยหมักพด.1 อัตรา 2,000 กก.ต่อไร่ ร่วมกับสับกลบตอซังข้าวโพดหวาน มีน้ำหนักผลผลิต(กิโลกรัม

                  ต่อไร่) และมูลค่าผลผลิตสูงที่สุดเท่ากับ  1,004.45 กิโลกรัมต่อไร่ 20,089.00 บาทต่อไร่ แต่เนื่องจากมีการใส่ปุ๋ยหมัก
                  พด.1 อัตรา 2,000 กก.ต่อไร่ ทำให้มีต้นทุนการผลิตที่สูงให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจน้อยกว่าการใส่ปุ๋ยอินทรีย์
                  คุณภาพสูง  อัตรา 100 กก.ต่อไร่ ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ  ซึ่งเป็นตำรับการทดลองที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูง
                  ที่สุด มีมูลค่าผลผลิตและผลตอบแทนเท่ากับ 17,671.80 และ 13,871.80 บาทต่อไร่ ตามลำดับ

                                                          ข้อเสนอแนะ


                         1. ช่วงเวลาในการทำการทดลองควรเลือกช่วงเวลาให้เหมาะ  ควรหลีกเลี่ยงช่วงหน้าฝน  โดยเฉพาะ

                  การเลือกข้าวโพดหวานเป็นพืชในการทดลอง  พบว่าในการทดลองปีที่ 2 ช่วงที่ทำการทดลองมีฝนตกหนัก เม็ด
                  ฝนได้ชะล้างปุ๋ยที่ใส่ในแปลงทดลองออกหมด ทำให้ข้าวโพดหวานได้รับปุ๋ยไม่เต็มที่  มีผลต่อการเจริญเติบต่อโต
                  และการให้ผลผลิตของข้าวโพดหวาน
                         2. การวางแผนการทดลองควรนำค่าความต้องปริมาณธาตุอาหารของพืชมาใช้ร่วมกับการวางแผนการ

                  ทดลองด้วย  เพื่อให้พืชที่เลือกใช้ในการทดลองมีการเจริญเติบโต  และให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
                            3. การเลือกใช้ปุ๋ยในการทดลอง  ควรเลือกใช้ปุ๋ยที่มีปริมาณธาตุอาหารเพียงพอกับความต้องการ
                         ปริมาณธาตุอาหารพืช เพื่อให้พืชสามารถนำมาใช้ในการเจริญเติบและให้ผลผลิตได้อย่างเต็มที่
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44