Page 35 - ต้นแบบอนุรักษ์ดินและน้ำจังหวัดเชียงใหม่ Soil and Water Conservation Model in Chiang Mai Province.
P. 35

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           27

                   เกิดการสูญเสียดินคิดเป็น 0.11 ตันต่อไร่ต่อปีและปี2563 ซึ่งเป็นปีการศึกษาสุดท้าย ในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ปอยเกิด

                   การสูญเสียดินคิดเป็น 0.07 ตันต่อไร่ต่อปี และพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยลึกเกิดการสูญเสียดินคิดเป็น 0.09 ตันต่อไร่ต่อปี



                   ตารางที่ 11 ปริมาณตะกอนดินทั้งหมดในแปลงศึกษาจากถังตกตะกอนดิน

                                                           ปริมาณตะกอนดิน (กิโลกรัม/ไร่)   ปริมาณตะกอนดิน
                       ลุ่มน้ำ   การใช้ประโยชน์ที่ดิน
                                                       2559  2560  2561  2562  2563      ทั้งหมด (กิโลกรัม/ไร่)

                                ป่าเบญจพรรณ (ECM01)    145    85    19.09  414    82.54        745.63

                                   ข้าวไร่ (ECM02)     200    116    13    388.8  58.72        776.52
                       ลุ่มน้ำ
                      แม่ปอย       พืชผัก (ECM03)      249    68     3.72   9.99  59.82        390.53
                                รวมปริมาณ (กิโลกรัม/ไร่)   549   269  35.81  812.8  201.1     1,912.68

                               อัตราการสูญเสีย (ตัน/ไร่/ปี)  0.20  0.09  0.01   0.27   0.07     0.64

                                ป่าเบญจพรรณ (ECM04)     43    35     5.28  54.27  131.7        269.25

                                   มะม่วง (ECM05)      571    180  43.64  88.27  33.54         916.45
                       ลุ่มน้ำ
                      ห้วยลึก      พืชผัก (ECM06)      306    533  53.27  178.5  101.4        1,172.20
                                รวมปริมาณ (กิโลกรัม/ไร่)   920   748  102.2  321.0  266.6     2,357.90

                               อัตราการสูญเสีย (ตัน/ไร่/ปี)  0.31  0.25  0.03   0.11   0.09     0.79




                          2.1.1 ปริมาตรน้ำในถังตกตะกอน
                          จากการศึกษาปริมาตรน้ำจากการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ปอย จำนวน 3 จุด ซึ่งมีการ

                   ใช้ประโยชน์ที่ดินที่แตกต่างกันตามระดับความลาดชันของพื้นที่แบ่งเป็นแปลงป่าเบญจพรรณ (ECM01) ความ

                   ลาดชัน  30-35 เปอร์เซ็นต์ แปลงข้าวไร่ (ECM02) ความลาดชัน 20-25 เปอร์เซ็นต์ และแปลงพืชผัก (ECM03)
                   ความลาดชัน 9-10 เปอร์เซ็นต์ ในปี2559 จะพบว่าแปลงพืชผัก (ECM03) มีปริมาตรน้ำสะสมมากที่สุด 1.20

                   ลูกบาศก์เมตร เช่นเดียวกับปี2560 แปลงพืชผัก (ECM03) มีปริมาตรน้ำสะสมมากที่สุดเท่ากับ 2.02 ลูกบาศก์

                   เมตร ส่วนปี2561 แปลงข้าวไร่ (ECM02) มีปริมาตรน้ำสะสมมากที่สุด 0.06 ลูกบาศก์เมตร ในปี2562
                   เช่นเดียวกันพบว่าแปลงข้าวไร่ (ECM02) มีปริมาตรน้ำสะสมมากที่สุดเท่ากับ 2.66 ลูกบาศก์เมตร และใน

                   ปี2563 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของการศึกษาจะพบว่าแปลงพืชผัก (ECM03) มีปริมาตรน้ำสะสมสูงสุดคิดเป็น 2.43
                   ลูกบาศก์เมตร
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40