Page 85 - ศึกษาผลกระทบจากการเผาเศษวัสดุทางเกษตรต่อการปลูกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แจ่มและศึกษาการชะล้างพังทลายของดินด้วยแบบจำลองการสูญเสียดินสากล
P. 85

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           73

                   4. ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเผาไหม้ในพื นที่เกษตรกรรม

                      ต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการชะล้างพังทลายของดิน ในพื นที่ปลูกข้าวโพด
                      4.1 ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                          4.1.1 ความอุดมสมบูรณ์ของดินบริเวณพื นที่ลุ่มน ้าแม่แจ่ม
                          การศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของดินบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ าแม่แจ่ม ปี 2561 – 2563 จากการส ารวจ

                   เก็บข้อมูลตัวอย่างดิน 212 จุด ด าเนินการประเมินระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ได้แก่ อินทรียวัตถุ
                   คาร์บอน ไนโตรเจนทั้งหมด ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ ด้วยเทคนิคด้าน
                   ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ บริเวณพื้นที่ลุ่มน้ าแม่แจ่ม 2,454,375 ไร่ มีผลการศึกษา ดังนี้
                          อินทรียวัตถุ พบว่า ปี 2561 – 2563 พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของ

                   ดินระดับสูง เท่ากับ 1,514,827 1,522,344 และ 1,526,650 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 61.72 62.03 และ 62.20
                   ของพื้นที่ลุ่มน้ าแม่แจ่ม ตามล าดับ
                          คาร์บอน พบว่า ปี 2561 – 2563 พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                   ระดับสูง เท่ากับ 1,511,961 1,521,664 และ 1,525,907 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 61.60 62.00 และ 62.17 ของ

                   พื้นที่ลุ่มน้ าแม่แจ่ม ตามล าดับ
                          ไนโตรเจนทั้งหมด พบว่า ปี 2561 – 2563 พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์การประเมินความอุดมสมบูรณ์
                   ของดินระดับต่ า เท่ากับ 2,254,734 2,442,643 และ 2,441,265 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 91.87 99.52 และ 99.47
                   ของพื้นที่ลุ่มน้ าแม่แจ่ม ตามล าดับ

                          ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ พบว่า ปี 2561 และ 2562 พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์การประเมิน
                   ความอุดมสมบูรณ์ของดินระดับสูงมาก เท่ากับ 2,141,046 และ 1,822,218 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 87.23 และ
                   74.24 ของพื้นที่ลุ่มน้ าแม่แจ่ม ตามล าดับ ส่วนปี 2563 พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์การประเมินความ
                   อุดมสมบูรณ์ของดินระดับสูง เท่ากับ 1,823,017 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 74.28 ของพื้นที่ลุ่มน้ าแม่แจ่ม

                          ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ พบว่า ปี 2561 – 2563 พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์การประเมิน
                   ความอุดมสมบูรณ์ของดินระดับสูงมาก เท่ากับ 1,405,526 1,554,382 และ 1,452,212 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                   57.27 63.33 และ 59.17 ของพื้นที่ลุ่มน้ าแม่แจ่ม ตามล าดับ


                          พื้นที่เฉลี่ยทั้ง 3 ปี มีผลการศึกษาดังนี้
                          อินทรียวัตถุ พบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินระดับสูง เฉลี่ย

                   เท่ากับ 1,521,274 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 61.98 ของพื้นที่ลุ่มน้ าแม่แจ่ม
                          คาร์บอน พบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินระดับสูง เฉลี่ย
                   เท่ากับ 1,519,844 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 61.92 ของพื้นที่ลุ่มน้ าแม่แจ่ม
                          ไนโตรเจนทั้งหมด พบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินระดับต่ า

                   เฉลี่ยเท่ากับ 2,379,547 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 96.95 ของพื้นที่ลุ่มน้ าแม่แจ่ม
                          ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                   ระดับสูงมาก เฉลี่ยเท่ากับ 1,928,760 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 78.58 ของพื้นที่ลุ่มน้ าแม่แจ่ม
                          ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของ

                   ดินระดับสูงมาก เฉลี่ยเท่ากับ 1,470,707 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 59.92 ของพื้นที่ลุ่มน้ าแม่แจ่ม ดังแสดงในตาราง
                   ที่ 41
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90