Page 3 - ผลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ต่อการเจริญเติบโตผลผลิต ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชัน Effect of Nitrogen, Phosphorus and Potassium Fertilizers on Plant Growth, Products, Economic Return and Curcuminoids in Turmeric (Curcuma Longa L.)
P. 3

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                   ทะเบียนวิจัยเลขที่  62-63-09-04-010903-010-106-03-11
                   ชื่อโครงการวิจัย   ผลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต

                                    ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชัน

                                    Effect  of  nitrogen,  phosphorus  and  potassium  fertilizers  on  plant  growth,
                                    products, economic return and curcuminoids in turmeric (Curcuma Longa L.)

                   กลุ่มชุดดิน      กลุ่มชุดดินที่ 34 ชุดดินท่าแซะ (Tha Sae series: Te)
                   สถานที่ด าเนินการ  1) แปลงทดลอง ชุดดินท่าแซะ ต าบลตลิ่งชัน อ าเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

                                       พิกัด 47Q 588609E, 965648N
                                     2) ห้องปฏิบัติการส านักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน

                   ผู้ร่วมด าเนินการ   นางกมรินทร์ นิ่มนวลรัตน์ (Mrs. Kamarin  Nimnualrat)

                                    นางสาวกุลภัทร์  ยิ้มพักตร์ (Miss. Kulapat Yimpak)


                                                             บทคัดย่อ


                          ขมิ้นชันมีสารเคอร์คูมินอยด์ ที่มีสรรพคุณทางยา และน ามาใช้ประโยชน์ในเชิงการแพทย์ อย่างไรก็ตาม
                   ปัจจุบันการใช้ปุ๋ยส าหรับขมิ้นชันอาจยังไม่เหมาะสม เนื่องจากยังมีข้อมูลการศึกษาน้อย โดยเฉพาะธาตุอาหาร
                   หลัก ซึ่งเป็นธาตุที่พืชต้องการในปริมาณสูง จึงศึกษาผลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ต่อ

                   การเจริญเติบโต ปริมาณและคุณภาพผลผลิต รวมถึงผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการปลูกขมิ้นชันในแปลง
                   ทดลองที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ า วางแผนการทดลองการตอบสนองของธาตุอาหารหลักแต่ละชนิดแบบสุ่มภายใน
                   บล็อกสมบูรณ์ (randomized complete block design) จ านวน 4 ซ้ า มี 7 ต ารับการทดลอง ได้แก่ การปลูก

                   ขมิ้นชันและใส่ปุ๋ยวิธีเกษตรกร (ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่) เปรียบเทียบกับการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน
                   อัตรา 0, 9, 18, 27, 36, 45 กิโลกรัม N ต่อไร่ ฟอสฟอรัสอัตรา 0, 4, 9, 13, 18, 22 กิโลกรัม P O  ต่อไร่ และ
                                                                                                   2 5
                   โพแทสเซียมอัตรา 0, 25, 50, 75, 100 และ 125 กิโลกรัม K O ต่อไร่ ตามล าดับ ผลการศึกษา พบว่า การใช้ปุ๋ย
                                                                     2
                   ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม (N-P O -K O) อัตรา 18-9-25 กิโลกรัมต่อไร่ ส่งผลให้ได้ผลผลิตน้ าหนัก
                                                         2 5 2
                   สด น้ าหนักแห้งของเหง้าขมิ้นชัน และผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจสูงสุด ในขณะที่ หากใส่ปุ๋ยมากกว่าอัตราดังกล่าว

                   จะท าให้ผลผลิตและผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจลดลง ตามล าดับ เนื่องจากธาตุอาหารส่วนเกินจะไปรบกวนการดูด
                   ใช้ธาตุอาหารชนิดอื่น จากอ านาจการเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน จึงเป็นสาเหตุจ ากัดการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต
                   อย่างไรก็ตาม ในสภาวะที่เกิดความไม่สมดุลของการดูดใช้ธาตุอาหาร กลับส่งผลให้ต้นขมิ้นชันสามารถผลิตสาร
                   เคอร์คูมินอยด์ได้สูงกว่าสภาวะปกติ เนื่องจากสามารถกระตุ้นให้ต้นขมิ้นชันอยู่ในสภาวะเครียด ดังนั้น การชักน า

                   ให้ต้นขมิ้นชันเกิดความเครียดจากสิ่งเร้าในระดับที่เหมาะสม อาจสามารถใช้เป็นแนวทางส าหรับผลิตขมิ้นชันที่ให้
                   สารส าคัญสูง เช่น ความเครียดจากธาตุอาหาร ความเค็ม ความเป็นกรด-ด่าง ของดิน หรือสภาวะขาดน้ า เป็นต้น

                   จึงควรศึกษาประเด็นดังกล่าวเพิ่มเติม

                   ค าส าคัญ: ธาตุอาหารหลัก, ค าแนะน าปุ๋ย, เคอร์คูมินอยด์, สมดุลธาตุอาหาร, ความเครียด
   1   2   3   4   5   6   7   8