Page 86 - แผนบริหารจัดการโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำโดมใหญ่ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
P. 86

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                          58






                     การชะล้างพังทลายของดินเป็นปัญหาที่ส าคัญที่ส่งผลให้ทรัพยากรที่ดินเสื่อมโทรมเนื่องจาก ท าให้

               เกิดการสูญเสียหน้าดิน การสูญเสียธาตุอาหารและอินทรียวัตถุในดิน ส่งผลให้ความอุดมสมบูรณ์ของดิน

               ลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีการใช้ที่ดินในการปลูกพืชอย่างเข้มข้นในรอบปี รวมทั้งในพื้นที่ที่มีการ
               ใช้เครื่องจักรกลในการไถพรวนดินเป็นสาเหตุส าคัญ ที่ท าให้สมบัติทางกายภาพของดินโดยเฉพาะโครงสร้าง

               ดินถูกท าลายยิ่งส่งเสริมให้เกิดการพังทลายของดินในพื้นที่ ผลจากการชะล้างพังทลายของดินจะส่งผล

               กระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในพื้นที่ที่เกิดการชะล้างพังทลายของดิน และพื้นที่โดยรอบ และท าให้ผลผลิตต่อ
               หน่วยพื้นที่ลดลง เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ลดลง และเกิดการตื้นเขินของแม่น้ าล าคลองจากมีการสะสม

               ของตะกอนดิน ท าให้ศักยภาพในการเก็บกักน้ าของแหล่งน้ าต่ าลง ปัญหาเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการ
               เพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป ดังนั้น จึงมีความจ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน

               เพื่อรักษาทรัพยากรที่ดินให้สามารถใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน
                     การชะล้างพังทลายของดินในแต่ละพื้นที่จะมีระดับความรุนแรงแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะของ

               ดินเอง และปัจจัยจากภายนอก โดยปกติแล้วการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทยจะเกิดขึ้นโดยมีฝน

               เป็นปัจจัยหลักที่ส าคัญ แต่โดยธรรมชาติแล้วจะเกิดไม่รุนแรงบนพื้นที่ที่มีความลาดชันน้อยและมีสิ่งปกคลุม
               ผิวดินหรือพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงแต่มีสิ่งปกคลุมผิวดินหนาแน่นจนเม็ดฝนไม่สามารถกระทบสู่พื้นดินได้

               แต่จะเกิดรุนแรงมากขึ้นถ้าพื้นที่มีความลาดชันมากขึ้นและไม่มีสิ่งปกคลุมผิวดิน โดยมีกิจกรรมการใช้ที่ดิน

               ของมนุษย์เป็นตัวเร่งให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น การชะล้างพังทลายของดิน นอกจากมีผลกระทบ
               ต่อสิ่งแวดล้อมแล้วยังส่งผลเสียทางด้านเศรษฐกิจ และจากการประเมินการสูญเสียดิน (ตัน/ไร่/ปี) ในพื้นที่

               ลุ่มน้ าห้วยต าแย สามารถแบ่งระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดินออกเป็น 3 ระดับ

               (ตารางที่ 3-13 และภาพที่ 3-11) ดังนี้

               ตารางที่ 3-13  ระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดิน พื้นที่ลุ่มน้ าห้วยต าแย อ าเภอเดชอุดม

                              จังหวัดอุบลราชธานี
                                                      ค่าการสูญเสียดิน               เนื้อที่
                         ระดับความรุนแรง
                                                         (ตัน/ไร่/ปี)          ไร่          ร้อยละ

                         น้อย                               0-2              112,734          93.92
                         ปานกลาง                            2-5                 4,925          4.10

                         รุนแรง                            5-15                 2,373          1.98

                                     รวมเนื้อที่ทั้งหมด                      120,032         100.00
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91