Page 5 - แผนบริหารจัดการโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำโดมใหญ่ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
P. 5

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                   ดินและน้ าในพื้นที่ลุ่มน้ า เป็นต้น นอกจากนี้พบภัยพิบัติทางธรรมชาติในพื้นที่ลุ่มน้ าห้วยต าแย ภัยแล้งใน

                   พื้นที่ดอน และภัยน้ าท่วมในบริเวณพื้นทีลุ่มตามริมแม่น้ าล าโดมใหญ่ที่อยู่บริเวณตอนกลางของเนื้อที่ลุ่มน้ า
                       การคัดเลือกพื้นที่ต้นแบบ ได้ก าหนดปัจจัยหลักที่น ามาพิจารณา 8 ด้าน ประกอบด้วย 1) ระดับความ

                   รุนแรงของการชะล้าง 2) เอกสารสิทธิ์ 3) การใช้ที่ดิน 4) กิจกรรมที่ด าเนินงานในพื้นที่ 5) แผนปฏิบัติงาน

                   ของพื้นที่ 6) ความต้องการของชุมชน 7)พื้นที่ประสบภัยแล้ง และ 8)พื้นที่ประสบภัยน้ าท่วม ในการบริหาร
                   จัดการพื้นที่อนุรักษ์ดินและน้ า จะพิจารณาการบริหารจัดการเป็นลุ่มน้ า ดังนั้น จึงได้น าผลจากการคัดเลือก

                   พื้นที่ต้นแบบ จากการจัดล าดับความส าคัญมาพิจารณาเพื่อก าหนดพื้นที่และมาตรการ โดยแบ่งเป็นลุ่มน้ า
                   ขนาดย่อย ๆ เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน และการติดตามประเมินผลตัวชี้วัด โดยในปีงบประมาณ

                   2564 มีพื้นที่ทั้งหมด 12,700 ไร่ สามารถด าเนินการได้ในพื้นที่รับน้ า 3 ล าน้ าด้วยกัน คือ (1) ล าโดมใหญ่

                   (2) ห้วยตลาด และ (3) ห้วยธาตุ ซึ่งมีขนาดพื้นที่เกษตรกรรมรวม 10,470 ไร่ โดยก าหนดมาตรการด้าน
                   การจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ า ที่ท าในพื้นที่ถือครองของเกษตรกรที่มีระดับการชะล้างพังทลายรุนแรง

                   และปานกลาง และน้อย ได้แก่ การไถพรวนและปลูกพืชตามแนวระดับ (contour cultivation) การยก
                   ร่องตามแนวระดับ (ridging) การสร้างคันดิน (terrace bench terrace) คันดินเบนน้ า (division

                   terrace) แนวหญ้าแฝก ทางล าเลียง (farm road) ทางระบายน้ า (waterways) ฝายชะลอน้ า (check

                   dam weir) บ่อดักตะกอน (pond) และระบบให้น้ าแบบ micro irrigation และระบบอนุรักษ์ดินและน้ าที่
                   ต้องท าในพื้นที่สาธารณะ ได้แก่ อ่างเก็บน้ า สระเก็บน้ า ฝายทดน้ า คลองส่งน้ า และระบบส่งน้ าด้วยท่อ

                       การด าเนินงานตามแผนบริหารจัดการทรัพยากรดินเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟู

                   พื้นที่เกษตรกรรม มีแนวทางการติดตามประเมินผลเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของแผนงาน โดยมีการ
                   ด าเนินการในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1)การติดตามความก้าวหน้า ในการด าเนินงานตามแผนบริหารทรัพยากรดิน

                   เพื่อป้องกันการและป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรม โดยการมีส่วนร่วมของ
                   หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งส่วนกลาง และระดับพื้นที่ โดยก าหนดให้มีการจัดท ารายงานผลการด าเนินงาน

                   ประจ าปี การติดตามประเมินผลส าเร็จ และผลกระทบจากการด าเนินงานตามแผนทุก 2 ปี มีการ

                   ประเมินผลช่วงกลางแผน เพื่อปรับเป้าหมายและตัวชี้วัด ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
                   รวมทั้ง มีการประเมินผลเมื่อสิ้นสุดการด าเนินการตามแผนปฏิบัติการ 2)จัดตั้งคณะกรรมการติดตาม

                   ประเมินผล เพื่อติดตามความก้าวหน้าการด าเนินงาน และผลสัมฤทธิ์ของงานในแต่ละด้านตามแผน ทั้ง
                   ด้านปัจจัยน าเข้า (input) การบวนการท างาน (process) ผลผลิต (output) ผลลัพธ์ (outcome) และ

                   ผลกระทบ (impact) ประกอบด้วย นักวิชาการจากส่วนกลาง นักวิชาการและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานระดับ

                   พื้นที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลตามแผนปฏิบัติการ ที่มีการ
                   ก าหนดกรอบตัวชี้วัดที่ครอบคลุมทุกมิติ ประกอบด้วย ประเด็นการวัดและติดตามประเมินผล ผู้จัดเก็บ

                   ตัวชี้วัดและรายงานผล พร้อมทั้งเสนอวิธีการจัดเก็บและติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ

                   สังคม และเศรษฐกิจ ในการจัดท าฐานข้อมูลเพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงตามตัวชี้วัด ประกอบด้วย
                   ประเด็นการวัด รายการตรวจวัด ผู้รับผิดชอบฐานข้อมูลกลางและฐานข้อมูลเชิงพื้นที่
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10