Page 19 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำคลองกุย อำเภอกุยบุรี และอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 19

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                          3



               ป้องกันไม่ได้ และถ้าเกิดมักใช้เวลานาน เป็นการเกิดแบบค่อยเป็นค่อยไปและช้ามาก และ 2) การชะล้าง

               พังทลายโดยมีตัวเร่งที่มีมนุษย์หรือสัตว์เลี้ยงเข้ามาช่วยเร่งให้มีการกัดกร่อนเพิ่มขึ้นจากการชะล้างพังทลาย
               โดยธรรมชาติ เช่น การหักล้างถางป่าท าการเพาะปลูกอย่างขาดหลักวิชาการ ท าให้พื้นดินปราศจากสิ่งปก

               คลุม เกิดการกัดกร่อนโดยลมและฝนและพัดพาดินสูญเสียไปได้เพิ่มขึ้น การสูญเสียดินจะมากน้อยเพียงใด

               ขึ้นอยู่กับวิธีการที่ใช้ท าการเกษตร (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558) กรมพัฒนาที่ดิน มีภารกิจส าคัญเกี่ยวกับการ
               แก้ไขปัญหาทรัพยากรที่ดิน โดยการพัฒนาที่ดินและอนุรักษ์ดินและน้ า ซึ่งมาตรการด้านการอนุรักษ์ดิน

               และน้ าจะช่วยปรับโครงสร้างพื้นฐานของดินในพื้นที่ให้เหมาะสมกับการปลูกพืช พร้อมกับช่วยรักษาระบบ
               นิเวศทางดินให้เกิดการใช้ที่ดินได้อย่างยั่งยืน โดยก่อนเริ่มด าเนินการต้องมีการการศึกษาและวิเคราะห์

               สภาพของที่ดินในพื้นที่ก่อนเสมอหากพื้นที่ด าเนินการอยู่ในพื้นที่ดินปัญหา เช่น ดินเค็ม ดินตื้น หรือดิน

               ทราย จ าเป็นจะต้องมีการออกแบบระบบอนุรักษ์ดินและน้ าด้วยวิธีกลและวิธีพืชเฉพาะพื้นที่ เพื่อควบคุม
               หรือป้องกันไม่ให้ดินปัญหาเกิดการแพร่กระจายส่งผลกระทบก่อปัญหาเพิ่มขึ้นในพื้นที่อื่นต่อไป ดังนั้น กรม

               พัฒนาที่ดิน จึงเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทส าคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรดินเชิงบูรณาการระดับลุ่ม
               น้ า โดยน าหลักวิชาการและเทคนิคด้านการอนุรักษ์ดินและน้ า มาใช้เป็นมาตรการเพื่อป้องกันการชะล้าง

               พังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรม ให้พื้นที่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า โดยพิจารณาจาก

               สภาพปัญหาพื้นที่และความต้องการของชุมชนเป็นหลัก นอกจากนี้ ยังศึกษานโยบายด้านการเกษตรของ
               รัฐบาล และท้องถิ่นในระดับต่าง ๆ เพื่อน ามาวิเคราะห์ก าหนดมาตรการในแผนการใช้ที่ดินพร้อม

               ข้อเสนอแนะด้านการจัดการพื้นที่ให้เกิดการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน สามารถใช้เป็นแนวทางในการบริหาร

               จัดการทรัพยากรธรรมชาติที่เหมาะสมและขยายผลสู่การปฏิบัติในพื้นที่อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ





                    1) เพื่อศึกษาและประเมินสถานภาพทรัพยากรดินเชิงระบบส าหรับการป้องกันการชะล้างพังทลาย

               ของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรม
                    2) เพื่อจัดท าแผนการบริหารจัดการทรัพยากรดินระดับลุ่มน้ าที่มีการก าหนดมาตรการด้านการ

               ป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน และฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ า






                    การจัดท าแผนการบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วย
               ระบบอนุรักษ์ดินและน้ า มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ความสอดคล้องของ ยุทธศาสตร์ชาติ

               20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580): ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการสร้างการเติบโต บนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับ
               สิ่งแวดล้อม ความสอดคล้องของ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ : แผนแม่บทการบริหารจัดการน้ าทั้ง

               ระบบ และความสอดคล้องของ ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ าของประเทศ (พ.ศ. 2558 - 2569) :

               ยุทธศาสตร์ที่ 5 การอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ าที่เสื่อมโทรมและป้องกันการพังทลายของดิน กลยุทธ์ :
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24