Page 17 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยท่าแค จังหวัดนครราชสีมา
P. 17

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                              3


                   ตัวเร่งที่มีมนุษย์หรือสัตว์เลี้ยงเข้ามาช่วยเร่งให้มีการกัดกร่อน เพิ่มขึ้นจากการชะล้างพังทลายโดยธรรมชาติ

                   เช่น การหักล้างถางป่าท าการเพาะปลูกอย่างขาดหลักวิชาการ ท าให้พื้นดินปราศจากสิ่งปกคลุม
                   เกิดการกัดกร่อนโดยลมและฝนและพัดพาดินสูญเสียไปได้เพิ่มขึ้น การสูญเสียดินจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่

                   กับวิธีการที่ใช้ท าการเกษตร (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558) กรมพัฒนาที่ดิน มีภารกิจส าคัญเกี่ยวกับการแก้ไข

                   ปัญหาทรัพยากรที่ดิน โดยการพัฒนาที่ดินและอนุรักษ์ดินและน้ า ซึ่งมาตรการด้านการอนุรักษ์ดินและน้ า
                   จะช่วยปรับโครงสร้างพื้นฐานของดิน ในพื้นที่ให้เหมาะสมกับการปลูกพืช พร้อมกับช่วยรักษาระบบนิเวศ

                   ทางดินให้เกิดการใช้ที่ดินได้อย่างยั่งยืน โดยก่อนเริ่มด าเนินการต้องมีการศึกษาและวิเคราะห์สภาพของ
                   ที่ดินในพื้นที่ก่อนเสมอ หากพื้นที่ด าเนินการอยู่ในพื้นที่ดินปัญหา เช่น ดินเค็ม ดินตื้น หรือดินทราย จ าเป็น

                   จะต้องมีการออกแบบระบบอนุรักษ์ดินและน้ าด้วยวิธีกลและวิธีพืชเฉพาะพื้นที่ เพื่อควบคุมหรือป้องกัน

                   ไม่ให้ดินปัญหาเกิดการแพร่กระจายส่งผลกระทบก่อปัญหาเพิ่มขึ้นในพื้นที่อื่นต่อไป ดังนั้นกรมพัฒนาที่ดิน
                   จึงเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทส าคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรดินเชิงบูรณาการระดับลุ่มน้ า โดยน า

                   หลักวิชาการและเทคนิคด้านการอนุรักษ์ดินและน้ า มาใช้เป็นมาตรการเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของ
                   ดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรม ให้พื้นที่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า โดยพิจารณาจากสภาพปัญหา

                   พื้นที่และความต้องการของชุมชนเป็นหลัก นอกจากนี้ยังศึกษานโยบายด้านการเกษตรของรัฐบาลและ

                   ท้องถิ่นในระดับต่าง ๆ เพื่อน ามาวิเคราะห์ก าหนดมาตรการในแผนการใช้ที่ดิน พร้อมข้อเสนอแนะด้านการ
                   จัดการพื้นที่ ให้เกิดการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน สามารถใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการ

                   ทรัพยากรธรรมชาติที่เหมาะสมและขยายผลสู่การปฏิบัติในพื้นที่อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ






                        1) เพื่อศึกษาและประเมินสถานภาพทรัพยากรดินเชิงระบบส าหรับการป้องกันการชะล้างพังทลาย
                   ของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรม

                        2) เพื่อจัดท าแผนการบริหารจัดการทรัพยากรดินระดับลุ่มน้ าที่มีการก าหนดมาตรการด้านการ

                   ป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรม ด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ า
                        3) เพื่อให้ได้แผนการบริหารจัดการโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่

                   เกษตรกรรม ด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ า






                        การจัดท าแผนการบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วย
                   ระบบอนุรักษ์ดินและน้ า มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ความสอดคล้องของ ยุทธศาสตร์ชาติ

                   20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580): ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพ ชีวิตที่เป็นมิตรกับ

                   สิ่งแวดล้อม ความสอดคล้องของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ: แผนแม่บทการบริหารจัดการน้ าทั้ง
                   ระบบ และความสอดคล้องของยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ าของประเทศ (พ.ศ. 2558 - 2569) :
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22