Page 7 - แผนบริหารจัดการโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยน้ำแหง จังหวัดน่าน
P. 7

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                           จากการศึกษาข้อมูลเศรษฐกิจและสังคมโดยเฉพาะในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากการชะล้าง

                   พังทลายของดิน พบว่า เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจในวิธีการรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดการชะล้างพังทลาย
                   ของดินในแต่ละวิธีการมากน้อยแตกต่างกัน เมื่อพิจารณาความต้องการ วิธีการรักษาและป้องกันการชะล้าง

                   พังทลายของดิน จะเห็นว่า เกษตรกรมีความต้องการ การทำคันดินขวางทางลาดเท การทำฝายน้ำล้น หรือ

                   คันชะลอความเร็วของน้ำ การยกร่อง และการปลูกพืชตามแนวระดับ เมื่อพิจารณาผลกระทบด้านต้นทุน
                   การผลิต ผลผลิต และผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดของการปลูกพืชในพื้นที่ที่มีระดับการชะล้าง

                   พังทลายของดินต่างกัน จะเห็นว่า ต้นทุนการผลิตของแต่ละพืช มีแนวโน้มสูงขึ้นตามระดับความรุนแรง

                   ของการชะล้างพังทลายของดินที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งต้นทุนเพิ่มขึ้นอาจ
                   เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงต้นทุนผันแปรในการผลิต เช่น ค่าจ้างแรงงาน ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ย นอกจากนี้

                   ยังพบว่า ผลผลิตของทุกพืชลดลงตามความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดิน โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยง

                   สัตว์ และยางพารา





                       ในการคัดเลือกพื้นที่เพื่อดำเนินการ โดยอาศัยปัจจัยหลักและเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับพิจารณา

                   จัดลำดับความสำคัญมี 6 ด้าน ประกอบด้วย (1) ระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดิน (2)
                   เอกสารสิทธิ์ (3) การใช้ที่ดิน (4) กิจกรรมที่ดำเนินงานในพื้นที่ (5) แผนปฏิบัติงานของพื้นที่ (6) ความ

                   ต้องการของชุมชน เพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้องกับสภาพปัญหาของพื้นที่และความต้องการของชุมชน
                   สามารถนำมาจัดทำแผนการดำเนินงาน 4 ปี โดยกำหนดแนวทางและมาตรการที่มีความสอดคล้องกับ

                   สภาพปัญหา แผนการใช้ที่ดินบนพื้นฐานการมีส่วนร่วม ดังนี้



                   แบ่งตามระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดิน  ในพื้นที่ที่มีระดับรุนแรงมาก และระดับปาน

                   กลาง กำหนดมาตรการในการไถพรวนและปลูกพืชตามแนวระดับ การยกร่องตามแนวระดับ การสร้างคัน
                   ดิน คันดินเบนน้ำ แนวหญ้าแฝก ทางลำเลียง คูรับน้ำขอบเขา ทางระบายน้ำ ฝายชะลอน้ำ และบ่อดัก

                   ตะกอน ส่วนระดับรุนแรงน้อย มีมาตรการเพิ่มเติมตามลักษณะภูมิประเทศ คือ การไถพรวนดิน การปรับ
                   ระดับ และปรับรูปแปลงนา


                                                                                           ส่วนใหญ่มีปัญหา
                   พื้นที่เกษตรมีความลาดชันสูง ดินตื้น และดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ กำหนดมาตรการโดยเน้นการเพิ่ม

                   อินทรียวัตถุด้วยการปลูกพืชคลุมดิน ปลูกพืชปุ๋ยสด การใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยชีวภาพ


                                                                                               ในพื้นที่ทาง
                   การเกษตรซึ่งมีสภาพปัญหาการขาดแคลนน้ำ จึงกำหนดมาตรการตามสภาพปัญหาและสอดคล้องตาม






                           แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน ้า ลุ่มน ้าห้วยน ้าแหง
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12