Page 6 - แผนบริหารจัดการโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยน้ำแหง จังหวัดน่าน
P. 6

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน













                        จากการศึกษาและสำรวจข้อมูลดินในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยน้ำแหง เพื่อจัดทำฐานข้อมูลและประเมิน

               สถานภาพทรัพยากรดิน โดยเน้นด้านการชะล้างพังทลายของดิน ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์แนวทางการ
               ใช้ที่ดินด้านการเกษตร และกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันชะล้างพังทลายของดินและอนุรักษ์ดินและน้ำที่

               เหมาะสม ผลการจำแนกสภาพปัญหาของดินหรือข้อจำกัดต่อการใช้ที่ดินด้านการเกษตร แบ่งเป็น 5 ประเภท
               หลัก ได้แก่ (1) การใช้ที่ดินไม่ตรงตามศักยภาพของดิน (ที่ดอนทำนา) ครอบคลุมเนื้อที่รวม 664 ไร่ หรือ

               คิดเป็นร้อยละ 0.72 (2) ดินค่อนข้างเป็นทรายและความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำที่บนพื้นที่ดอน ครอบคลุม

               เนื้อที่รวม 915 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 1.00 และ (3) ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำบนพื้นที่ดอน ครอบคลุม
               เนื้อที่รวม 3,400 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 3.71 (4) ดินตื้น เป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของพืชด้านการ

               ชอนไชของรากพืช ครอบคลุมเนื้อที่รวม 6,253 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 6.82 (5) ปัญหาพื้นที่มีความลาดชัน

               สูง ครอบคลุมเนื้อที่รวม 68,030 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 74.20 ส่วนใหญ่มีสภาพการใช้ที่ดินเป็นป่าไม้ มี
               เนื้อที่ 78,863 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 67.68 ของเนื้อที่ทั้งหมด





                        จากการศึกษาความสัมพันธ์ของ 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ การใช้ที่ดิน และทรัพยากรดิน ข้อมูลสภาพ
               ภูมิอากาศ พบว่า พื้นที่ลุ่มน้ำห้วยน้ำแหงมีพื้นที่ 146.71 ตารางกิโลเมตร (91,696 ไร่ ) มีปริมาณน้ำท่าคิด

               เป็น 48.43 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีศักยภาพในการพัฒนาด้านการเก็บกักน้ำท่าเพื่อใช้
               ในพื้นที่การเกษตรได้





                        พื้นที่ส่วนใหญ่มีความรุนแรงของการชะล้างพังทลายในระดับรุนแรง โดยมีปริมาณการสูญเสีย

               ดิน 5-15 ตันต่อไร่ต่อปี โดยครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 78.71 ของเนื้อที่ทั้งหมด มีลักษณะการชะล้าง
               พังทลายของดินเป็นร่องลึกเกิดขึ้นทั่วไป และมีการใช้ที่ดินในการปลูกข้าวโพด และข้าวโพด (ไร่หมุนเวียน)

                        เมื่อพิจารณาถึงการประเมินการชะล้างพังทลายของดินในแต่ละพื้นที่ และแต่ละระดับ แม้ใน
               พื้นที่ที่มีการชะล้างพังทลายในระดับน้อย มีปริมาณการสูญเสียดิน 0-2 ตันต่อไร่ต่อปี ก็ไม่ควรเพิกเฉยต่อ

               การใช้มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ และหากมีการละเลยหรือมีการจัดการที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกต้องตาม
               หลักวิชาการอาจส่งผลกระทบที่รุนแรงขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาการสูญเสียดิน ปริมาณและคุณภาพผลผลิต

               และส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต การจัดการดิน น้ำ ปุ๋ย จนส่งผลให้เกษตรกรในพื้นที่มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่ม

               สูงขึ้นตามไปด้วย










                        แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน ้า ลุ่มน ้าห้วยน ้าแหง
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11