Page 38 - แผนบริหารจัดการโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยน้ำแหง จังหวัดน่าน
P. 38
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
22
(1) ตำบลน้ำตก จำนวน 40 ราย ประกอบด้วย ผู้แทนจากองค์การบริหารส่วนตำบล
น้ำตก กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หมอดินอาสา เกษตรกรผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้ง 7 หมู่บ้าน คือ บ้านพืชเจริญ บ้าน
น้ำพุ บ้านน้ำสระ บ้านวังกอก บ้านเปา บ้านไทยงาม บ้านพืชมงคล
(2) ตำบลนาน้อย จำนวน 8 ราย ประกอบด้วย ผู้แทนจากองค์การบริหารส่วนตำบลนา
น้อย กำนัน หมอดินอาสาประจำตำบล และเกษตรกรผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยน้ำแหง
(3) ตำบลบัวใหญ่ จำนวน 3 ราย ประกอบด้วย ผู้แทนจากองค์การบริหารส่วนตำบลบัว
ใหญ่ กำนัน หมอดินอาสาประจำตำบล
(4) ตำบลศรีษะเกษ จำนวน 3 ราย ประกอบด้วย ผู้แทนจากองค์การบริหารส่วนตำบล
ศรีษะเกษ กำนัน หมอดินอาสาประจำตำบล
(5) ตำบลเชียงของ จำนวน 3 ราย ประกอบด้วย ผู้แทนจากองค์การบริหารส่วนตำบล
เชียงของ กำนัน หมอดินอาสาประจำตำบล
(6) ตำบลสันทะ จำนวน 3 ราย ประกอบด้วย ผู้แทนจากองค์การบริหารส่วนตำบลสันทะ
กำนันหมอดินอาสาประจำตำบล
2) ประเด็นการรับฟังความคิดเห็น
กำหนดการแบ่งกลุ่ม (Focus group) ออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มพื้นที่ต้นน้ำ ที่มีความ
เสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายสูง กลุ่มพื้นที่กลางน้ำ ที่มีความเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายปานกลาง กลุ่ม
พื้นที่ปลายน้ำ ที่มีความเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายเล็กน้อย เป็นตัวแทนกลุ่มที่เป็นผู้นำชุมชน หมอดิน
อาสา และเกษตรกรผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยมีประเด็นการรับฟังความคิดเห็น คือ ความรู้ความเข้าใจของ
เกษตรกรต่อการชะล้างพังทลายของดิน สภาพปัญหาของพื้นที่ แนวทางการแก้ไขปัญหา (ภูมิปัญญาและ
ตามหลักวิชาการ) วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของพื้นที่ร่วมกับชุมชน และการกำหนดเป้าหมายในการ
ดำเนินงาน (ภาพที่ 2-2)
ภาพที่ 2-2 ประเด็นการรับฟังความคิดเห็นของชุมชนแบบมีส่วนร่วม
แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน ้า ลุ่มน ้าห้วยน ้าแหง