Page 6 - แผนบริหารจัดการโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำคลองลาว อำเภอปลายพระยาและอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
P. 6

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




               มากจะเกิดการชะล้างพังทลายของดินที่มีความรุนแรงมากที่สุด โดยก่อให้เกิดปริมาณการสูญเสียดิน

               มากกว่า 20 ตันต่อไร่ต่อปี (ร้อยละ 13.24 ของเนื้อที่ทั้งหมด) พบบริเวณพื้นที่เกษตรของ หมู่ที่ 4 บ้านเขาต่อ
               หมู่ที่ 5 บ้านบางโศก หมู่ที่ 7 บ้านโคกยอ  ตำบลเขาต่อ อำเภอปลายพระยา และ หมู่ที่ 4 ตำบลนาเหนือ

               อำเภออ่าวลึก พื้นที่ส่วนใหญ่มีความลาดชันสูง มีลักษณะเป็นพื้นที่ลูกคลื่นลอนชัน (ความลาดชัน 12-20

               เปอร์เซ็นต์) มีลักษณะการชะล้างพังทลายของดินเป็นร่องลึกเกิดขึ้นทั่วไป และมีการใช้ที่ดินในการปลูก
               ปาล์มน้ำมัน ยางพารา

                         เมื่อพิจารณาถึงการประเมินการชะล้างพังทลายของดินในแต่ละพื้นที่ และแต่ละระดับ แม้ใน
               พื้นที่ที่มีการชะล้างพังทลายในระดับน้อย มีปริมาณการสูญเสียดิน 0-2 ตันต่อไร่ต่อปี ก็ไม่ควรเพิกเฉยต่อ

               การใช้มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ และหากมีการละเลยหรือมีการจัดการที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกต้องตาม

               หลักวิชาการอาจส่งผลกระทบที่รุนแรงขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาการสูญเสียดิน ปริมาณและคุณภาพผลผลิต
               และส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต การจัดการดิน น้ำ ปุ๋ย จนส่งผลให้เกษตรกรในพื้นที่มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่ม

               สูงขึ้นตามไปด้วย




                            จากการศึกษาข้อมูลเศรษฐกิจและสังคมโดยเฉพาะในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากการชะล้าง

               พังทลายของดิน พบว่า เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจในวิธีการรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดการชะล้างพังทลาย

               ของดินในแต่ละวิธีการมากน้อยแตกต่างกัน เมื่อพิจารณาความต้องการ วิธีการรักษาและป้องกันการชะล้าง
               พังทลายของดิน จะเห็นว่า เกษตรกรมีความต้องการ การทำคันดินขวางทางลาดเท การทำฝายน้ำล้น หรือ

               คันชะลอความเร็วของน้ำ การยกร่อง และการปลูกพืชตามแนวระดับ เมื่อพิจารณาผลกระทบด้านต้นทุน
               การผลิต ผลผลิต และผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดของการปลูกพืชในพื้นที่ที่มีระดับการชะล้าง

               พังทลายของดินต่างกัน จะเห็นว่า ต้นทุนการผลิตของแต่ละพืช มีแนวโน้มสูงขึ้นตามระดับความรุนแรง

               ของการชะล้างพังทลายของดินที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งต้นทุนเพิ่มขึ้นอาจเป็นผล
               จากการเปลี่ยนแปลงต้นทุนผันแปรในการผลิต เช่น ค่าจ้างแรงงาน ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ย นอกจากนี้ ยัง

               พบว่า ผลผลิตของทุกพืชลดลงตามความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดิน โดยเฉพาะปาล์มน้ำมัน

               และยางพารา




                     ในการคัดเลือกพื้นที่เพื่อดำเนินการ โดยอาศัยปัจจัยหลักและเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับพิจารณา

               จัดลำดับความสำคัญมี 6 ด้าน ประกอบด้วย (1) ระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดิน

               (2) เอกสารสิทธิ์ (3) การใช้ที่ดิน (4) กิจกรรมที่ดำเนินงานในพื้นที่ (5) แผนปฏิบัติงานของพื้นที่ (6) ความ
               ต้องการของชุมชน พบว่า บ้านบางเท่าแม่ หมู่ที่ 1 บ้านบางยิงวัว หมู่ที่ 3 บ้านเขาต่อหมู่ที่ 4 และบ้านบาง

               โศก หมู่ที่ 5 ตำบลเขาต่อ อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญอันดับต้นๆ ที่
               คัดเลือกเป็นพื้นที่ดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ 11,490 ไร่ กำหนดแผนการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ.






                                แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน ้า ลุ่มน ้าคลองลาว
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11