Page 5 - แผนบริหารจัดการโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำคลองลาว อำเภอปลายพระยาและอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
P. 5

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน














                             จากการศึกษาและสำรวจข้อมูลดินในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองลาว เพื่อจัดทำฐานข้อมูลและประเมิน

                   สถานภาพทรัพยากรดิน โดยเน้นด้านการชะล้างพังทลายของดิน ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์แนวทางการ
                   ใช้ที่ดินด้านการเกษตร และกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันชะล้างพังทลายของดินและอนุรักษ์ดินและน้ำที่

                   เหมาะสม  ผลการจำแนกสภาพปัญหาของดินหรือข้อจำกัดต่อการใช้ที่ดินด้านการเกษตร แบ่งเป็น 3 ประเภท

                   หลัก ได้แก่ (1) ดินตื้น เป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของพืชด้านการชอนไชของรากพืช ครอบคลุมเนื้อที่
                   รวม 2,699 ไร่หรือคิดเป็นร้อยละ 1.82 (2) ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำครอบคลุมเนื้อที่รวม 102,078 ไร่

                   หรือคิดเป็นร้อยละ 68.85 และ (3) ปัญหาพื้นที่มีความลาดชันสูงส่วนใหญ่มีสภาพการใช้ที่ดินเป็นป่าไม้ มี
                   เนื้อที่ 35,624 ไร่หรือคิดเป็นร้อยละ 24.03 ของเนื้อที่ทั้งหมด






                             จากการศึกษาความสัมพันธ์ของ 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ การใช้ที่ดิน และทรัพยากรดิน ข้อมูล

                   สภาพภูมิอากาศ พบว่า พื้นที่ลุ่มน้ำคลองลาวมีพื้นที่ 237.235 ตารางกิโลเมตร (148,272 ไร่) มีปริมาณ
                   น้ำท่าคิดเป็น 46.72 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ซึ่งถือว่ามีปริมาณน้ำที่สามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตร

                   ได้ในปริมาณมากเพียงพอ





                             การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในพื้นที่เกษตรกรรมในภาพรวมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.

                   2555 (116,922 ไร่) โดยมีเนื้อที่เพิ่มขึ้นประมาณ 5,578 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 4.77 ของเนื้อที่เดิม

                   เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรในพื้นที่ และการเพิ่มขึ้นของภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว ทำให้
                   มีความต้องการสินค้าเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการใช้ที่ดินสำหรับไม้ยืนต้น ซึ่งมีพื้นที่เพิ่มขึ้นชัดเจน

                   ในปี พ.ศ. 2562 ถึงร้อยละ 82.40  ของเนื้อที่เดิม (พ.ศ. 2555) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้นที่มีมูลค่าทาง
                   เศรษฐกิจ เช่น ปาล์มน้ำมัน ยางพารา และกาแฟ ซึ่งทำให้พื้นที่ปลูกไม้ผลลดลง จากเดิมเนื้อที่ 836 ไร่ เป็น

                   179 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 78.58 ของเนื้อที่เดิม และมีพื้นที่อื่นๆ ลดลงเช่น พื้นที่นาข้าว






                             พื้นที่ส่วนใหญ่มีความรุนแรงของการชะล้างพังทลายในระดับปานกลางถึงรุนแรง โดยมีปริมาณ
                   การสูญเสียดิน โดยครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 65.06 ของเนื้อที่ทั้งหมด ได้แก่ 2-5 ตันต่อไร่ต่อปี โดย

                   ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 29.63 ของเนื้อที่ทั้งหมด และ 5-15 ตันต่อไร่ต่อปี โดยครอบคลุมพื้นที่ ร้อยละ
                   35.43 ของเนื้อที่ทั้งหมด นอกจากนี้ ในพื้นที่ที่มีสภาพภูมิประเทศแบบเนินเขา แบบสูงชัน และแบบสูงชัน







                                    แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน ้า ลุ่มน ้าคลองลาว
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10