Page 54 - แผนบริหารจัดการโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำคลองลาว อำเภอปลายพระยาและอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
P. 54

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                          36



               ให้ดินมีอัตราการถูกชะล้างพังทลายของดินสูง เนื่องจากปลูกในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงและมีสิ่งปกคลุม

               ผิวหน้าดินน้อย ส่งผลทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สมบัติดินทางกายภาพ
               ลดลง และส่งเสริมให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินเพิ่มสูงขึ้น พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อนหรือพื้นที่ลาดชันสูง

               (slope complex or steep slope) มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ เป็นพื้นที่ที่ยังไม่มีการจำแนก

               ประเภทดิน ซึ่งกระจายตัวเป็นส่วนใหญ่ของพื้นที่ คิดเป็นร้อยละ 20.51 ของเนื้อที่ทั้งหมด ไม่เหมาะสมต่อ
               การปลูกพืชทุกชนิด เนื่องจากมีอัตราการชะล้างพังทลายสูงมาก การจัดการดูแลรักษาลำบาก ทำให้เกิด

               การชะล้างพังทลายรุนแรงมาก แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องนำพื้นที่นี้มาใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตร มี
               ความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาถึงชนิดพืชที่จะปลูกร่วมกับลักษณะของดินภายใต้การจัดการ

               อนุรักษ์ดินและน้ำเป็นพิเศษหรือทำในระบบวนเกษตร สภาพพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อนหรือพื้นที่ลาดชันสูง

               สามารถแบ่งย่อยออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
                    1) พื้นที่สูงชัน (steep slope) มีความลาดชัน 35-50 เปอร์เซ็นต์

                    2) พื้นที่สูงชันมาก (very steep slope) มีความลาดชัน 50-75 เปอร์เซ็นต์
                    3) พื้นที่สูงชันมากที่สุด (extremely steep slope) มีความลาดชันมากกว่า 75 เปอร์เซ็นต์


               ตารางที่ 3-3  ทรัพยากรดินในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองลาว อำเภอปลายพระยาและอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่

                                                                                          เนื้อที่
                 ลำดับ  สัญลักษณ์                       คำอธิบาย
                                                                                       ไร่    ร้อยละ

                   1    Ak-cA        ชุดดินอ่าวลึก มีเนื้อดินบนเป็นดินเหนียว ความลาดชัน   280    0.19
                                     0-2 เปอร์เซ็นต์

                   2    Ak-cB        ชุดดินอ่าวลึก มีเนื้อดินบนเป็นดินเหนียวความลาดชัน    123    0.08
                                     2-5 เปอร์เซ็นต์

                   3    Ak-cC        ชุดดินอ่าวลึก มีเนื้อดินบนเป็นดินเหนียวความลาดชัน    11         0.01

                                     5-12 เปอร์เซ็นต์
                   4    Fd-slB       ชุดดินฝั่งแดง มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ความ   456         0.31

                                     ลาดชัน 2-5 เปอร์เซ็นต์

                   5    Fd-slC       ดินฝั่งแดง มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ความลาด   178         0.12
                                     ชัน 5-12 เปอร์เซ็นต์

                   6    Kbi-br-clB   ดินกระบี่ที่มีสีน้ำตาล มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนดิน  524      0.35

                                     เหนียว ความลาดชัน 2-5 เปอร์เซ็นต์
                   7    Kbi-br-clC  ดินกระบี่ที่มีสีน้ำตาล มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนดิน  605        0.41

                                     เหนียว ความลาดชัน 5-12 เปอร์เซ็นต์
                   8    Kbi-clA      ชุดดินกระบี่ มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนดินเหนียว   1,591         1.07

                                     ความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์






                                แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน ้า ลุ่มน ้าคลองลาว
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59