Page 53 - แผนบริหารจัดการโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำคลองลาว อำเภอปลายพระยาและอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
P. 53

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             35



                   ต่อการเกิดการชะล้างพังทลาย โดยเฉพาะดินที่มีลักษณะเนื้อดินบนและดินล่างต่างกัน ดินตื้นที่มีเนื้อดิน

                   ร่วนหยาบ และมีความลาดชันสูง (สภาพพื้นที่ลอนชันและพื้นที่เนินเขา ความลาดชัน 12-35 เปอร์เซ็นต์)
                   ควรมีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสม เช่น การทำคันดินกั้นน้ำ ทำขั้นบันได และปลูกพืชตามแนว

                   ระดับขวางความลาดชันของพื้นที่ เพื่อชะลอความเร็วของน้ำที่ไหลบ่าผ่านผิวดิน ช่วยลดการชะล้างของ

                   หน้าดิน และน้ำซึมผ่านลงไปในดินชั้นล่างได้มากขึ้น ทำให้ความชื้นในดินมากขึ้น นอกจากนี้ ควรปลูกพืช
                   คลุมดินเพื่อช่วยรักษาความชื้นของดินไว้และยังช่วยลดการชะล้างพังทลายของดินได้อีกด้วย

                         เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยด้านลักษณะของดินที่มีผลต่อการชะล้างพังทลายของดิน ซึ่งดินแต่ละชนิดจะ
                   ทนต่อการชะล้างพังทลายที่แตกต่างกันในสภาพแวดล้อมที่คล้ายคลึง โดยเฉพาะค่าปัจจัยความคงทนของ

                   ดิน (K-factor) ที่สามารถนำไปประเมินการสูญเสียดินในสมการการสูญเสียดินสากล (USLE) จะเห็นว่า

                   ปัจจัยสมบัติดินที่มีผลต่อค่าปัจจัยความคงทนของดิน ได้แก่ (1) ผลรวมปริมาณร้อยละของทรายแป้งและ
                   ปริมาณร้อยละของทรายละเอียดมาก (% silt + % very fine sand) (2) ปริมาณร้อยละของทราย (%

                   sand) (3) ปริมาณร้อยละของอินทรียวัตถุในดิน (% organic matter)  (4) โครงสร้างของดิน (soil
                   structure) และ (5) การซาบซึมน้ำของดิน (permeability) (กรมพัฒนาที่ดิน, 2545) จากการศึกษาค่า

                   ปัจจัยความคงทนของดินต่อการชะล้างพังทะลาย (K-factor) ตามชนิดวัตถุต้นกำเนิดดินในพื้นที่สูงของลุ่ม

                   น้ำคลองลาว พบว่า ผลรวมปริมาณร้อยละของทรายแป้งและปริมาณร้อยละของทรายละเอียดมากมีค่าสูง
                   ส่งผลให้ค่า K-factor สูง และปริมาณร้อยละของอินทรียวัตถุในดินสูงส่งผลให้ค่า K-factor ต่ำ และยัง

                   พบว่าดินในกลุ่มวัตถุต้นกำเนิดดินพวกหินตะกอนเนื้อหยาบมีแนวโน้มให้ค่า K-factor มากที่สุด และดินใน

                   กลุ่มวัตถุต้นกำเนิดดินพวกหินอัคนีสีเข้มมีค่า K-factor น้อยที่สุด (กองสำรวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน,
                   2562) จากลักษณะและสมบัติดินดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า ดินที่มีค่า K-factor สูง (ง่ายต่อการกร่อน) จะมี

                   แนวโน้มเกิดการชะล้างพังทลายของดินได้สูง ส่วนดินที่มีค่า K-factor ต่ำ (ยากต่อการกร่อน) จะมีแนวโน้ม
                   เกิดการชะล้างพังทลายของดินได้ต่ำ

                         ดินที่พบเป็นส่วนใหญ่ของพื้นที่ อยู่ในกลุ่มดินที่เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนพื้นที่ราบ

                   (ตะพักลำน้ำเก่า) ซึ่งมีเนื้อดินเป็นดินร่วนถึงร่วนละเอียด ปริมาณอินทรียวัตถุปานกลาง ได้แก่ ชุดดินลำภู
                   รา (Ll) คิดเป็นร้อยละ 13.17 ของเนื้อที่ทั้งหมด มีแนวโน้มค่าปัจจัยความคงทนของดิน (K-factor) ต่ำกว่า

                   ดินในกลุ่มวัตถุต้นกำเนิดดินพวกหินตะกอนเนื้อหยาบซึ่งมีเนื้อดินเป็นกลุ่มดินร่วนหยาบและปริมาณ
                   อินทรียวัตถุต่ำ ได้แก่ ชุดดินสวี (Sw) ชุดดินท่าแซะ (Te) และชุดดินพะโต๊ะ (Pto) คิดป็นร้อยละ10.76

                   ของเนื้อที่ทั้งหมด

                         นอกจากปัจจัยด้านลักษณะสมบัติของดินแล้ว ปัจจัยด้านสภาพพื้นที่และการใช้ประโยชน์ที่ดินก็มี
                   ผลต่อการชะล้างพังทลายของดิน โดยเฉพาะความลาดชันของพื้นที่จะมีผลโดยตรงต่อการชะล้างพังทลาย

                   ของผิวหน้าดิน การไหลบ่าของน้ำผ่านผิวหน้าดิน ระดับน้ำใต้ดิน ความชื้นในดินการระบายน้ำ ความยาก

                   ง่ายต่อการกักเก็บน้ำและเขตเกษตรกรรม ดังนั้น สภาพพื้นที่จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ควบคุม
                   ลักษณะของการใช้ประโยชน์ที่ดินซึ่งส่งผลต่อการชะล้างพังทลายของดินด้วย โดยเฉพาะไม้ยืนต้น เช่น

                   ปาล์มน้ำมันและยางพารา ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกเป็นส่วนใหญ่และปลูกในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ทำ





                                    แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน ้า ลุ่มน ้าคลองลาว
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58