Page 125 - กลุ่มดินตามระบบฐานอ้างอิง ทรัพยากรดินของโลก (WRB) สำหรับทรัพยากรดินของประเทศไทย World Reference Base for Soil Resources of Thailand
P. 125

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน



              ลักษณะของหน้าตัดดิน (Profile features)


                       การพัฒนาหน้าตัดดินในกลุ่มดิน Plinthosols คือ A-(E)-BC โดย
              เกิดการผุพังสลายตัวทางธรณีวิทยาอย่างรุนแรง หลังจากนั้นเหล็ก (และ

              แมงกานีส) จะแยกตัวออกมาสร้างตัวเป็นพลินไทต์ ในบริเวณที่มีการขึ้นลง
              ของนำ้าใต้ดินหรือมีสิ่งกีดขวางการระบายนำ้าที่ผิวดิน การเชื่อมตัวกันเป็น

              เพโทรพลินไทต์และพิโซลิทส์ จะเกิดขึ้นเนื่องจากเกิดการเปียกสลับแห้งซำ้าๆ
              ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น การขึ้นลงของนำ้าใต้ดินตามฤดูกาล

              การยกตัวทางธรณีวิทยาของสภาพภูมิประเทศ การกร่อนของดินบน
              การลดลงของระดับนำ้าใต้ดิน ความสามารถในการระบายนำ้าเพิ่มขึ้น และ/หรือ

              การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดสภาวะแห้งแล้งขึ้น



              สภาพแวดล้อมและภูมิสัณฐาน (Environment and landforms)


                       สภาพแวดล้อมที่พบกลุ่มดิน Plinthosols มักสัมพันธ์กับสภาพ
              ภูมิอากาศแบบร้อนชื้นที่มีอุณหภูมิสูงและมีฝนตกชุกเป็นส่วนใหญ่ร่วมกับ
              สภาพพื้นที่ ซึ่งพลินไทต์จะเกิดได้ทั้งบริเวณที่ราบหรือค่อนข้างราบเรียบ

              ที่ราบสูง ตะพักลุ่มนำ้า รวมทั้งที่ลาดชันเล็กน้อย ที่มีผลต่อทิศทางการเคลื่อนที่

              ของระดับนำ้าใต้ดิน เกิดได้ดีทั้งในป่าทึบและบริเวณทุ่งหญ้าแห้งแล้ง
              โดยภายใต้สภาพทุ่งหญ้าจะมีการสะสมของเหล็กในปริมาณที่สูงมากกว่าภายใต้
              สภาพป่าไม้ ส่วนบริเวณป่าไม้มักจะเกิดพลินไทต์เนื่องจากมีปริมาณความชื้นสูง

              และมีแนวโน้มที่จะป้องกันไม่ให้ดินชั้นล่างเกิดปฏิกิริยาสูญเสียนำ้าและเกิดเป็นชั้นแข็ง ดังนั้นการเปลี่ยนสภาพจาก

              ป่าไม้มาเป็นทุ่งหญ้า จะเป็นการเร่งให้พลินไทต์ที่อ่อนตัวอยู่ในชั้นดินแข็งตัวเร็วขึ้น


              การใช้ประโยชน์และการจัดการ (Use and management)


                       กลุ่มดิน Plinthosols จัดเป็นดินที่มีข้อจำากัดหรือเป็นดินปัญหาทางด้านเกษตรกรรม เนื่องจากมีปริมาณ
              กรวดลูกรังหรือศิลาแลงจำานวนมากอยู่ในระดับตื้น ทำาให้จำากัดการชอนไชของรากพืชและเป็นปัญหาต่อการเขตกรรม

              มีปริมาณเนื้อดินละเอียดน้อย ทำาให้มีธาตุอาหารพืชตำ่า ความชื้นที่เป็นประโยชน์ตำ่า นอกจากนั้นการมีชั้นกรวดที่อัดตัว

              กันแน่นทำาให้การซาบซึมนำ้าของดินลดลง ความหนาแน่นรวมเพิ่มขึ้น และส่งผลให้การกร่อนผิวดินเกิดขึ้นได้ง่าย
              พลินไทต์ที่เชื่อมตัวเป็นแผ่น (petroplinthic) สามารถตัดเป็นก้อนอิฐและเมื่อแข็งตัวถาวรจะใช้ประโยชน์สำาหรับ
              การก่อสร้าง ส่วนพลินไทต์ที่แปรสภาพเป็นก้อนลูกรังแข็ง (pisoplinthic) สามารถใช้ประโยชน์ทางวิศวกรรม

              เพื่อการก่อสร้างถนนได้เป็นอย่างดี











                                                                                                       121
   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130