Page 124 - กลุ่มดินตามระบบฐานอ้างอิง ทรัพยากรดินของโลก (WRB) สำหรับทรัพยากรดินของประเทศไทย World Reference Base for Soil Resources of Thailand
P. 124

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






            Plinthosols










            คำาจำากัดความ (Definition)


                     กลุ่มดิน Plinthosols เป็นกลุ่มดินที่มีชั้นพลินไทต์ (plinthite) หรือศิลาแลงอ่อน ชั้นศิลาแลงอ่อนที่แข็ง

            และเชื่อมเป็นแผ่นต่อเนื่อง (petroplinthic) หรือชั้นลูกรังที่เป็นก้อนอิสระเกาะกันหลวมๆ (pisoplinthic)
            โดยพบชั้น plinthite ชั้น petroplinthic หรือ ชั้น pisoplinthic ภายในความลึก 50 เซนติเมตรจากผิวดิน

            หรือพบชั้น plinthite ที่มีความหนามากกว่า 10 เซนติเมตร ภายในความลึก 100 เซนติเมตร หากพบลักษณะที่แสดง
            การแช่ขังนำ้า stagnic properties หรือ reducing condition ในบางช่วงของปีในตอนล่างของหน้าตัดดิน



            การแจกกระจาย (Distribution)


                     กลุ่มดิน Plinthosols ครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลกประมาณ 375 ล้านไร่ ศิลาแลงอ่อน (soft plinthite)
            จะพบส่วนใหญ่ในเขตร้อนชื้น (wet tropics) บริเวณทางตะวันออกของลุ่มนำ้าอะเมซอน ลุ่มนำ้าคองโก และบางส่วน

            ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
                     กลุ่มดิน Plinthosols ของประเทศไทย มีเนื้อที่ประมาณ 15.5 ล้านไร่ แจกกระจายทั่วไปทุกภาค โดยเฉพาะ

            ในบริเวณตะพักลุ่มนำ้า ที่ลาดเชิงเขา เนินตะกอนรูปพัดต่อเนื่อง พื้นที่เหลือตกค้างจากการกร่อนหน้าดิน เนินเขา
            และภูเขา พบมากที่สุดทางตอนเหนือของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาจะพบในตอนบนของภาคตะวันออก

            ตอนกลางของภาคใต้ ตอนล่างของภาคเหนือ และพบเล็กน้อยในภาคกลาง ตามลำาดับ



            การกำาเนิด (Formation)

                     กลุ่มดิน Plinthosols เกิดจากการสะสมและแยกตัวของเหล็กและอะลูมินัมออกไซด์ (sesquioxides)

            มีการเคลื่อนย้ายธาตุที่เป็นด่าง และซิลิกาออกไปจากหน้าตัดดิน ทำาให้มีลักษณะของพลินไทต์ที่เป็นปื้นสีแดง

            มีเหล็กเป็นองค์ประกอบสูง มีปริมาณอินทรียวัตถุตำ่า รวมกับแร่ควอตซ์ (quartz) และแร่ดินเหนียวเคโอลิไนต์
            (kaolinite) ในปริมาณสูง มีการจับตัวกันแน่นพอที่จะแยกออกจากดินที่อยู่ข้างเคียงได้ การแยกตัวของเหล็กนี้เกิดขึ้น
            ในสภาพแวดล้อมที่ผ่านวัฏจักรการเปียกและแห้งสลับกันหลายๆ ครั้ง ภายในชั้นดินที่มีการเปลี่ยนแปลงของ

            ระดับนำ้าใต้ดิน เมื่อเกิดการแยกตัวสะสมของเหล็กสมบูรณ์ขึ้น จุดประจะมีความเข้มข้นของเหล็กและอะลูมินัมออกไซด์

            มากขึ้น จนเพียงพอที่จะเกิดเป็นพลินไทต์ในชั้นดินและเชื่อมตัวกันเป็นแผ่นต่อเนื่อง Plinthosols มักเกิดจากหิน
            ต้นกำาเนิดที่เป็นด่าง (basic rock) มากกว่าหินที่เป็นกรด (acidic rock)








                                                                                                     120
   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129