Page 52 - การจัดการดินเพื่อปลูกมันสำปะหลังในกลุ่มชุดดินที่ 28 จังหวัดสระบุรี ภายใต้โครงการนำร่องการผลิตพืชตามเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันในประชาคมอาเซียน
P. 52

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        42



                   เกษตรกร) จะพบว่า วิธีการที่ 1 มีต้นทุนการผลิตต่ําที่สุด แต่ก็ให้ผลผลิตและรายได้สุทธิต่ํากว่าวิธีการที่ 3

                   เช่นกัน

                                                       ข้อเสนอแนะ


                          การศึกษาการจัดการดินเพื่อปลูกมันสําปะหลังในชุดดินลพบุรี กลุ่มชุดดินที่ 28 สถานที่
                   ดําเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 12  ตําบลลําพญากลาง อําเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ระยะเวลาดําเนิน
                   โครงการ 3 ปี พบว่า การปลูกมันสําปะหลังในพื้นที่ของเกษตรกรยังมีการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างต่อเนื่อง และไม่มี
                   การพักดิน หรือปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก เพราะมีการปลูกมันสําปะหลังต่อเนื่อง

                   ดังนั้น จึงควรส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชตระกูลถั่วแซมกับการปลูกมันสําปะหลังในพื้นที่  เพื่อ
                   ปรับปรุงโครงสร้างดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น

                                                       ประโยชน์ที่ได้รับ


                           จากการศึกษาการจัดการดินเพื่อปลูกมันสําปะหลังในกลุ่มชุดดินที่ 28 สถานที่ดําเนินการพื้นที่
                   หมู่ที่ 12  ตําบลลําพญากลาง อําเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี  ระยะเวลาดําเนินโครงการ 3 ปี โดยมี 5
                   วิธีการทดลอง ประโยชน์ที่ได้รับจากการทดลอง คือ  ได้ทราบถึงศักยภาพของผลผลิตตามเขตการใช้

                   ที่ดินพืชเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับกลุ่มชุดดิน  โดยวิธีการที่ 3  คําแนะนําการใช้ปุ๋ยตามโปรแกรมดินไทย
                   และธาตุอาหารพืชที่สอดคล้องกับชุดดินและชนิดพืชกับน้ําหมักชีวภาพ จะให้ผลผลิตมันสําปะหลังสูงที่สุด
                   ซึ่งจะเป็นแนวทางให้แก่เกษตรกรแปลงใกล้เคียงที่มีพื้นที่กลุ่มชุดดินลพบุรีเพื่อเป็นทางเลือก ในการปลูก
                   มันสําปะหลังเพื่อให้ได้ผลผลิตมันสําปะหลังเพิ่มขึ้นจากวิธีเดิมของเกษตรกร  และจากการทดลองครั้งนี้
                   สามารถนําไปใช้ในการเผยแพร่และส่งเสริมให้เกษตรกรทําการเกษตรตามศักยภาพตามความเหมาะสม

                   ของพืชและดินในพื้นที่ของตนเอง
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57