Page 104 - การจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่โครงการอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่เสี่ยงภัยต่อดินถล่ม บ้านนาหมัน หมู่ที่ 4 ตำบลแม่จริม อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน
P. 104

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       88







                                                          ค่าวิเคราะห์ดิน

                              ค่าวิเคราะห์ดินในที่นี้เป็นค่าวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดินที่มีความส าคัญต่อการ
                       เจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืชทั้งโดยตรงและโดยอ้อม


                              1. อินทรียวัตถุ (Organic Matter : OM) ใช้ค านวณหาปริมาณของธาตุไนโตรเจนในดิน ซึ่ง

                       ส าคัญต่อการเจริญเติบโตของต้น ยอดอ่อน ใบ และกิ่งก้านกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช ซึ่งจะ
                       ช่วยให้พืชตั้งตัวและแข็งแรงในระยะแรก โดยในอินทรียวัตถุจะมีไนโตรเจนอยู่ทั้งหมดร้อยละ 5 และ

                       จะอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชร้อยละ 2-4 นอกจากนี้ยังช่วยในการคาดคะเนความสามารถของดิน
                       ในการดูดซับน้ า ดูดยึดธาตุอาหาร

                              2. ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (available phosphorus : P) ช่วยการเจริญเติบโตของราก
                       แขนงและรากฝอยในระยะแรก ช่วยในการออกดอก ให้ดอก ผล เมล็ดที่สมบูรณ์ ช่วยรากพืชดูดซึม

                       โพแทสเซียมได้มากขึ้น พืชที่ขาดธาตุฟอสฟอรัสจะมีต้นเล็ก แคระแกร็น ใบเล็ก เหลือง ใบล่างเริ่มมีสี

                       ม่วง ดอกผลน้อย รากไม่เจริญ
                              3. โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ (available potassium  :  K)  ช่วยให้ผลผลิตของพืชมี

                       คุณภาพดี ทั้งพืชใบและผลไม้ พืชแข็งแรง ต้านทานโรค


                       ตารางภาคผนวกที่ 1 แสดงระดับสมบัติทางเคมีของดิน

                         ระดับ        % อินทรียวัตถุ     ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์      โพแทสเซียมที่เป็น
                                                                (มก./กก.)            ประโยชน์ (มก./กก.)

                          สูง          มากกว่า 3.5             มากกว่า 25                มากกว่า 90
                       ปานกลาง           1.5-3.5                  10-25                    60-90
                          ต่ า         น้อยกว่า 1.5            น้อยกว่า 10               น้อยกว่า 60


                              4. ค่าพีเอช (pH)  หรือค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน จะควบคุมการละลายธาตุอาหารใน

                       ดินออกมาอยู่ในสารละลายหรือน้ าในดิน ถ้าดินมีพีเอชไม่เหมาะสม ธาตุอาหารในดินบางชนิดจะ
                       ละลายออกมาน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช หรือธาตุอาหารบางชนิดจะละลายออกมา

                       มากเกินไปจนเป็นพิษต่อพืช พืชแต่ละชนิดชอบที่จะเจริญเติบโตในดินที่มีช่วงพีเอชต่าง ๆ กัน ส าหรับ

                       พืชทั่ว ๆ ไป มักจะเจริญเติบโตในช่วงพีเอช 6-7 ค่าพีเอชของดินยังควบคุมการเจริญเติบโตและการท า
                       หน้าที่ของจุลินทรีย์ดินด้วย
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109