Page 9 - ผลสำเร็จของการดำเนินงาน โครงการเขตพัฒนาที่ดินพื้นที่ลุ่มน้ำคลองรับร่อ บ้านจันทึง หมู่ที่ 5 ตำบลหินแก้ว อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
P. 9

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                         1


                                                         บทที่ 1

                                                          บทน า
               1.1 หลักการและเหตุผล
                       ปัญหาการชะล้างพังทลายดินในพื้นที่ภาคใต้มีความรุนแรงมากโดยใน พ.ศ. 2543-2545  กรมพัฒนา

               ที่ดินได้มีการศึกษาและจัดท าแผนที่การชะล้างพังทลายและการสูญเสียดิน รายงานว่าประเทศไทย มีเนื้อที่
               320,696,887  ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่มีการสูญเสียดินระหว่าง 0-50  ตันต่อไร่ต่อปี โดยภาคใต้มีการสูญเสียดินสูง
               กว่าภาคอื่น เนื่องมาจากปริมาณฝนที่ตกหนักและมีปริมาณมากขึ้นในฤดูฝน ท าให้พื้นที่ลาดชัดมีหน้าดินเหลือ
               น้อย เกิดปัญหาหินโผล่ปลูกพืชแล้วไม่มีหน้าดินให้รากพืชยึดเกาะ บางครั้งเกิดฝนตกหนักมากท าให้เกิดปัญหา

               ดินถล่ม แต่ในฤดูแล้งกลับแห้งแล้งพืชขาดน้ าเพราะไม่มีการกักเก็บน้ าไว้ใช้ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2562) จาก
               ปัญหาดังกล่าว เจ้าหน้าที่จากส านักงานพัฒนาที่ดินเขต 11 จึงได้ปรึกษาปัญหาร่วมกับสถานีพัฒนาที่ดินชุมพร
               เพื่อจัดหาแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าวเพื่อลดการสูญเสียหน้าดิน และกักเก็บน้ าไว้ใช้ในหน้าแล้งส าหรับการ
               ปลูกพืช ดังนั้นสถานีพัฒนาที่ดินชุมพรจึงคัดเลือกพื้นที่ บ้านจันทึง หมู่ที่ 5 ต าบลหินแก้ว อ าเภอท่าแซะ

               จังหวัดชุมพร ซึ่งอยู่ในเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ าคลองรับร่อมีเนื้อที่ทั้งหมด 5,575 ไร่ มีงานที่ด าเนินการไปแล้ว
               ครอบคลุมทั้งพื้นที่ เนื่องจาก เป็นพื้นที่ประสบปัญหาด้านการเกษตร โดยมีลักษณะดินเป็นตัวแทนปัญหาที่
               ส าคัญของอ าเภอท่าแซะ การใช้ประโยชน์ที่ดินมีความหลากหลายทั้งพืชไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น และพื้นที่ปุาไม้

               เกษตรกรในพื้นที่ประสบปัญหาผลผลิตต่ า เนื่องจากสภาพดินมีปัญหาดินตื้น ดินขาดความอุดมสมบูรณ์และมี
               การชะล้างพังทลายของหน้าดินบริเวณพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ขาดแคลนแหล่งน้ า ปัญหาการขนส่งผลผลิต
               ออกนอกพื้นที่ เกษตรกรขาดความเข้าใจการจัดการดินกับพืชที่เหมาะสม สถานีพัฒนาที่ดินชุมพร ได้ศึกษา
               ลักษณะและสมบัติของดิน สภาพการใช้ที่ดิน สภาพทางเศรษฐกิจสังคม ทัศนคติ และความต้องการของ
               เกษตรกร ผลจากการศึกษาได้น ามาก าหนดแนวทางการวางระบบการพัฒนาที่ดินที่สอดคล้องกับสภาพปัญหา

               ในพื้นที่ ทั้งระบบการจัดการดินกับพืช และระบบอนุรักษ์ดินและน้ า โดยมุ่งหวังที่จะพัฒนาการเกษตรในพื้นที่
               น าร่องนี้ และขยายผลให้ครอบคลุมทั้งเขตพัฒนาที่ดินต่อไป โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ องค์กร
               ปกครองส่วนท้องถิ่น และสถาบันการศึกษา เพื่อให้การด าเนินงานมีผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรม และน าไปสู่การ

               ใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืนต่อไป

               1.2 วัตถุประสงค์
                       1. เพื่อวิเคราะห์สภาพพื้นที่ ประเมินปริมาณน้ าไหล่บ่า การสูญเสียดิน และความลาดชันของพื้นที่

                       2. เพื่อจัดท าระบบอนุรักษ์ดินและน้ า และปรับปรุงบ ารุงดินในพื้นที่ลุ่มน้ าคลองรับร่อ หมู่ที่ 5 ต าบล
               หินแก้ว อ าเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
                       3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเกษตรกรจากการจัดท าระบบอนุรักษ์ดินและน้ า


               1.3 ขอบเขตการด าเนินงาน
                       ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของจังหวัดชุมพร ที่ตั้งและอาณาเขต สภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศ  ทรัพยากร
               ดิน ทรัพยากรน้ า ทรัพยากรปุาไม้และเขตปฏิรูปที่ดิน สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน สภาพเศรษฐกิจและสังคม
               เพื่อวิเคราะห์สภาพพื้นที่ ประเมินปริมาณน้ าไหลบ่า การสูญเสียดิน ความลาดชัน เพื่อวางแผนการใช้ประโยชน์

               ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดและยั่งยืน และจัดท าระบบอนุรักษ์ดินและน้ าพื้นที่ลุ่มน้ าคลองรับร่อ หมู่ที่ 5 ต าบล
               หินแก้ว อ าเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14