Page 28 - การใช้ประโยชน์ของชุดตรวจสอบดินภาคสนามสำหรับให้คำแนะนำปุ๋ยในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                                                                                                         20


                              6.2 การสะสมธาตุอาหารในเมล็ดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
                              การสะสมของธาตุอาหารในเมล็ดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นผลจากการค านวณโดยใช้ข้อมูลความ
                       เข้มข้นของธาตุอาหารในส่วนเมล็ดของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ คูณกับน้ าหนักเมล็ดข้าวโพดแห้งต่อไร่ พบว่ามี

                       ความแตกต่างทางสถิติของปริมาณการสะสมธาตุอาหารทั้ง 3 ชนิด จากอิทธิพลของต ารับทดลองต่างๆ
                       โดยต ารับการทดลองที่ 4 ที่มีการใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 22.62-0-11.05 กิโลกรัม N-P O -K O ต่อไร่ต่อปี จะ
                                                                                        2 5 2
                       มีการสะสมของธาตุไนโตรเจนสูงที่สุด 18.27 กิโลกรัมต่อไร่ แตกต่างทางสถิติกับทุกต ารับการทดลอง

                       ต ารับทดลองที่ 1 ที่ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมีจะมีการสะสมของธาตุไนโตรเจนต่ าที่สุด 4.22 กิโลกรัมต่อไร่ การ
                       สะสมธาตุฟอสฟอรัสในเมล็ดในต ารับการทดลองที่มีการใช้ปุ๋ยเคมี คือ 2 3 4 5 และ 6 จะมีการสะสม
                       ธาตุฟอสฟอรัสสูงกว่าต ารับการทดลองที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ต ารับการทดลองที่มีการใช้ปุ๋ยเคมีจะมีการสะสม
                       ของธาตุฟอสฟอรัสในเมล็ดระหว่าง 3.15–3.74 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนต ารับการทดลองที่ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี

                       จะมีการสะสมธาตุฟอสฟอรัสเพียง 0.88 กิโลกรัมต่อไร่  การสะสมธาตุอาหารโพแทสเซียมในเมล็ดของ
                       ข้าวโพดมีผลเช่นเดียวกันกับการสะสมฟอสฟอรัสในเมล็ด คือต ารับการทดลองที่มีการใช้ปุ๋ยเคมีจะมีการ
                       สะสมสูง ระหว่าง 3.98–5.29 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนต ารับการทดลองที่ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี จะมีการสะสม

                       โพแทสเซียมในเมล็ดเพียง 1.21 กิโลกรัมต่อไร่
                              6.3 การสะสมธาตุอาหารในส่วนเหนือดินรวมของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

                              เมื่อรวมการสะสมธาตุอาหารในส่วนต้นและในเมล็ดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พบความแตกต่างทาง
                       สถิติอย่างมีนัยส าคัญยิ่งของธาตุอาหารทั้ง 3 ชนิด โดยการสะสมของธาตุไนโตรเจนรวมในต ารับการ
                       ทดลองที่ 4 ที่มีการใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 22.62-0-11.05 กิโลกรัม N-P O -K O  ต่อไร่ต่อปี จะมีการสะสม
                                                                             2 5 2
                       ของธาตุไนโตรเจนสูงที่สุด 18.27 กิโลกรัมต่อไร่ แตกต่างทางสถิติกับทุกต ารับการทดลอง ส่วนต ารับการ
                       ทดลองที่ 1 ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี จะมีการสะสมของธาตุไนโตรเจนรวมต่ าที่สุด 7.67 กิโลกรัมต่อไร่ การ
                       สะสมธาตุฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมทั้งหมด ให้ผลทางสถิติเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ ต ารับการ
                       ทดลองที่มีการใช้ปุ๋ยเคมี คือ 2 3 4 5 และ 6 มีการสะสมธาตุฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมรวมทั้งหมด
                       สูงกว่าต ารับที่ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี แตกต่างกันทางสถิติ โดยต ารับการทดลองที่มีการใช้ปุ๋ยเคมี จะมี

                       ปริมาณธาตุฟอสฟอรัสสะสมทั้งหมดระหว่าง 3.75–4.43 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่ต ารับการทดลองที่ไม่
                       ใช้ปุ๋ยเคมีมีการสะสมธาตุฟอสฟอรัสทั้งหมดเพียง 1.27 กิโลกรัมต่อไร่ ธาตุโพแทสเซียมสะสมทั้งหมด
                       ระหว่าง 14.97–17.84 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนต ารับการทดลองที่ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี มีการสะสมธาตุ

                       โพแทสเซียมทั้งหมดเพียง 7.73 กิโลกรัมต่อไร่
                              ข้อมูลการสะสมธาตุอาหารของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ แสดงดังตารางที่ 7
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33