Page 39 - วิธีวิเคราะห์ไนเตรทอย่างง่ายในห้องปฏิบัติการด้วยน้ำยาสกัด Mehlich I
P. 39

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                         32





                                                     วิจารณ์ผลการทดลอง


                              1. การศึกษา เรื่อง วิธีวิเคราะห์ไนเตรทอย่างง่ายในห้องปฏิบัติการด้วยน้ ายาสกัด Mehlich I
                       ใช้วิธี Colorimetric เหมือนกับงานวิจัยของบุญแสน (2543), ยิ่งพิศ และคณะ (2545), Nagaraja and
                       Kumar  (2002),  มะลิวรณ (2552), ศิริพร (2555), ประสิทธิ์  และวิริญรัชญ์ (2555), ประสาทพร

                       (2556) และพัชราภรณ์ และคณะ (2552) ซึ่งมีการใช้สารควบคู่ (coupling reagent) หลายชนิด ขึ้นอยู่
                       กับความเหมาะสมของชนิดตัวอย่างนั้นๆ เช่น น้ า พืช อาหาร และดิน เป็นต้น โดยงานวิจัยนี้มีการ
                       เลือกใช้สารเคมีให้เฉพาะเจาะจง รวมถึงใช้ความเข้มข้นที่ต่ าลงด้วย

                              2. ในการเกิดปฏิกิริยาเพื่อให้ได้สีย้อม azo dye (สีม่วงแดง) ซึ่งต้องท าในสภาวะกรดนั้น อาจ

                       ไม่จ าเป็นต้องใส่ Reagent  A  ลงไปเพื่อปรับ pH  ของสารละลายดินให้เป็นกรดก็ได้ เพื่อเป็นการลด
                       ปริมาณของสารเคมี เนื่องจากน้ ายาสกัด Mehlich I เป็นกรดจัดอยู่แล้ว

                              3. การทดสอบความใช้ได้ของการวิเคราะห์ไนเตรทในดินในห้องปฏิบัติการ เป็นการศึกษา
                       ความแม่นย าของการวิเคราะห์ เมื่อน าผลการวิเคราะห์มาแยกตามช่วง pH  เพื่อศึกษาว่า ค่าความเป็น
                       กรดเป็นด่างของดิน (pH) มีผลต่อการทดสอบความใช้ได้ของการวิเคราะห์หรือไม่ จากการศึกษา พบว่า

                       ในช่วง pH 3.5-4.5, 4.6-5.0, 5.1-5.5, 5.6-6.0, 6.1-6.5 และ 6.6-7.3 ของตัวอย่างดิน 32 ตัวอย่าง มี
                       ค่า %RSD มากกว่าหรือเท่ากับ 10 คิดเป็น 5% ของตัวอย่างทั้งหมด แสดงว่า ค่า pH ไม่มีผลต่อการ
                       ทดสอบความใช้ได้ของการวิเคราะห์ไนเตรทในดิน ซึ่งปัจจัยที่ท าให้ตัวอย่างดินมีค่า %RSD มากกว่าหรือ

                       เท่ากับ 10 อาจมาจากปริมาณของสารเคมี ระยะเวลาที่ใช้ในการทดสอบ รวมถึงความช านาญของผู้
                       ทดสอบด้วย

                              4. การเปรียบเทียบการวิเคราะห์ไนเตรทในดินด้วยสารละลายเทียบสีมาตรฐานกับเครื่อง
                       UV-Vis Spectrophotometer เมื่อน าผลการวิเคราะห์มาแยกตามช่วง pH เพื่อศึกษาว่า ค่าความเป็น
                       กรดเป็นด่างของดิน (pH) มีผลต่อความถูกต้องของการวิเคราะห์หรือไม่ จากการศึกษา พบว่า ในช่วง

                       pH 3.5-4.5, 4.6-5.0, 5.1-5.5, 5.6-6.0, 6.1-6.5, 6.6-7.3, 7.4-7.8 และ 7.9-8.4 ของตัวอย่างดิน 38
                       ตัวอย่าง ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ (No  Accept) คิดเป็น 13%  ของตัวอย่างทั้งหมด เนื่องจาก การ
                       อ่านสีของสารละลายด้วยสายตาเทียบกับสารละลายเทียบสีมาตรฐานได้ช่วงไม่ตรงกันกับเครื่อง UV-Vis
                       Spectrophotometer แสดงว่า ค่า pH ไม่มีผลต่อการเปรียบเทียบการวิเคราะห์ไนเตรทด้วยสารละลาย
                       เทียบสีมาตรฐานกับเครื่อง UV-Vis Spectrophotometer ซึ่งปัจจัยที่ท าให้ตัวอย่างดินเป็น No Accept

                       อาจมาจากการอ่านสีของสารละลายด้วยสายตาเทียบกับสารละลายเทียบสีมาตรฐาน โดยพบว่า ที่ความ
                       เข้มข้นสูงๆ คือ 21-50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สีของสารละลายเทียบสีมาตรฐานเป็นสีม่วงแดงเข้มมากขึ้น
                       ท าให้อาจแยกแยะสีได้ไม่ชัดเจน ดังนั้น จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้ได้สีของสารละลายเทียบสี

                       มาตรฐานที่แยกกันได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44